หลักการ Photogrammetry ด้วยโดรนสำรวจ

Drone Photogrammetry

Photogrammetry โดยย่อแล้วคือการรังวัดโดยอาศัยภาพถ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายจากกล้องถ่ายภาพทั่วไปหรือภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งเข้ามาปฏิวัติการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ให้มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย อาศัยค่าการจัดวางภายนอกของภาพ (ExteriorOrientation Parameter,EOP) หรือก็คือค่าพิกัดสามมิติและทิศทางการวางตัวในแกนสามมิติของกล้อง ณ เวลาที่ทำการถ่ายเพื่อนำมาคำนวณหาค่าพิกัดของวัตถุบนภาพโดยอาศัยสมการร่วมเส้น (Collinearity Equation) ร่วมกับระยะโฟกัส (Focal range) ในการคำนวณ ได้เป็นค่าพิกัดบนพื้นโลกของวัตถุที่อยู่บนภาพ 

ในบทความนี้ Aonic จะพาทุกท่านสำรวจหลักการพื้นฐานของ Photogrammetry  พร้อมจำแนกรูปแบบ แผนที่และแบบจำลองที่สามารถนำไปต่อยอดได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ผ่านการทำ Photogrammetry ด้วยโดรน

หลักการทำงาน

Photogrammetry เป็นวิธีการรังวัดทางอ้อมผ่านทางภาพถ่าย โดยใช้ซอฟท์แวร์เพื่อทำการประมวลผลคำนวณหาค่าพิกัดบนพื้นโลกของแต่ละพิกเซลบนภาพหลายร้อยภาพรวมกันจนกลายเป็นจุดภาพสามมิติหรือ Point Cloud ที่เป็นตัวแทนของลักษณะของภูมิประเทศหรือวัตถุต่างๆที่อยู่บนภาพให้มาแสดงอยู่ในรูปแบบของจุดพิกัดสามมิติในระบบคอมพิวเตอร์  การถ่ายภาพต้องทำการถ่ายให้มีส่วนซ้อนส่วนเกย (Overrlap -Sitelap) กันมากพอโดยหากมีส่วนซ้อนส่วนกายมากเท่าไหร่ค่าพิกัดที่คำนวณได้จะมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น​

จากนั้นจะนำภาพเหล่านั้นที่ได้มาต่อกันและดัดแก้ความผิดเพี้ยนทางตำแหน่งจากนั้นรวมกันจนกลายเป็นภาพแผนที่ใหญ่ผืนเดียวหรือที่เรียกว่าแผนที่ภาพออโธ (Orthomosaic) เพื่อใช้ในงานรังวัดและการทำแผนที่ นอกจากนั้นยังสามารถนำ Point Cloud มาทำการสร้างแบบจำลองความสูง (DSM) แบบจำลองความสูงภูมิประเทศ (DTM) รวมถึงเส้นชันความสูง (Contour Line) เพื่อนำมาใช้งานทางด้านการก่อสร้างและการออกแบบ

วิธีวางแผนการบินและปัจจัยที่ส่งผลต่อความถูกต้อง

  1. Image Quality​
  2. Camera sensor size, Image resolution​
  3. Camera Calibration​
  4. Drone GNSS accuracy​
  5. Overlap, Sidelap​
  6. GCP ​
  7. Software algorithm​
  8. Environmental Condition

1. Overlap - Sidelap

Photogrammetry Overlap Sidelap

ภาพถ่ายทางอากาศที่ดีควรจะต้องเป็นภาพที่มีส่วนซ้อนในแนวบิน (Overlap) อยู่ที่ไม่น้อยกว่า 80 % และมีส่วนเกยระหว่างแนวบิน ​(Side-lap) อยู่ไม่น้อยกว่า 60% โดยการที่มีส่วนซ้อนส่วนเกยระหว่างแนวบินมาเท่าไหร่จะช่วยให้การจับ Key point บนภาพที่ซ้อนและเกยกันทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้การต่อและตรึงภาพเข้าด้วยกันทำได้ง่ายยิ่งขึ้น และจะส่งผลให้ Tie point มีความแม่นยำที่สูงขึ้น โดยสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผลลัพธ์สุดท้ายมีความแม่นยำที่มากขึ้นและการประมวลผลต่อภาพทำได้ง่ายมากยิ่งขึ้นด้วยนั้นเอง ช่วยลดโอกาสในการบินแก้งาน การตั้งค่า Overlap และ Sidelap ที่สูงไว้จะช่วยให้จำนวน Keypoint ที่ปรากฏบนหลายภาพมีจำนวนมากยิ่งขึ้น และจะส่งผลให้การต่อภาพทำได้ง่ายขึ้นนั้นเอง​

Key point

คือจุดในภาพที่ผู้ประมวลผลจะสามารถจดจำและแบ่งแยกสิ่งนั้นกออกจากวัตถุอื่นในภาพได้อย่างเด่นชัด อาทิ จุดที่มีค่า  contrast สูงซึ่งจำนวนจุดมากน้อยขึ้นอยู่กับขนาดภาพและ วัตถุในภาพ

Tie point

คือจุดผูกมัดใช้ประเมินและปรับปรุงความแม่นยำของการเชื่อมต่อรูปภาพ

2.การปรับแก้ค่าพิกัดด้วย Ground Control point

นักบินสามารถเพิ่มความแม่นยำของค่าพิกัดของผลลัพธ์ได้ โดยทำการปรับแก้โดยทำการใช้ค่าพิกัดของจุดที่ทราบค่าบนพื้นดินมาทำการปรับแก้และตรึงค่าพิกัดที่ได้จากการคำนวณจากภาพถ่ายของโดรนจะช่วยเพิ่มระดับความถูกต้องของผลลัพธ์ได้ดี วิธีการนี้จะเรียกว่า การปรับแก้ด้วยจุดควบคุมภาพถ่าย/จุดควบคุมภาคพื้นดิน หรือ Ground Control Point (GCP) ​

Ground Control Point (GCP) คือจุดที่ใช้ในการปรับแก้และตรึงภาพถ่ายให้มีความถูกต้องทางตำแหน่งมากขึ้นจุดควบคุมภาคพื้นดินจะต้องเป็นจุดที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนบนภาพถ่าย เช่นรอยตัดถนน หรือเป็นจุดที่สร้างใหม่ขึ้นเองเช่นการวางเป้า ก็ได้อาศัยการรังวัดค่าพิกัดจุดที่เห็นเด่นชัดบนพื้นโลก จากนั้นนำค่าพิกัดของจุดนั้นมาใช้เพื่อทำการปรับแก้ค่าพิกัดที่ได้จากการประมวลผลจากภาพถ่าย ทำให้ผลลัพธ์มีความถูกต้องทางตำแหน่งมากยิ่งขึ้น

Emlid RTK

ค่าพิกัดของจุด GCP สามารถทำได้หลากหลายวิธีโดยในปัจจุบันวิธีที่ทำได้ง่าย มีความแม่นยำที่สูงและเป็นที่นิยมมากที่สุดคือวิธีการหาค่าพิกัดโดยใช้เครื่องรับสัญญาณ GNSS ทำการหาค่าพิกัดด้วยวิธีการ RTK หรือ Real time Kinematic (RTK นวัตกรรมแม่นยำสูงเพื่อโดรนสำรวจที่สามารถหาค่าพิกัดที่มีความแม่นยำในระดับเซนติเมตรโดยใช้เวลาในการรังวัดที่สั้นเพียงไม่กี่นาทีก็สามารถได้ค่าพิกัดของจุดเหล่านั้นได้ทันที จึงเหมาะที่ใช้ในการหาค่าพิกัดของจุด GCP นั่นเอง​



3. การสร้างจุด Check point

คือจุดที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพของผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลภาพถ่าย  การสร้างจุดตรวจสอบสามารถทำได้โดยใช้วิธีการเดียวกันกับการสร้างจุดควบคุมภาคพื้นดิน  นำค่าพิกัดของจุดนั้นมาใช้เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าพิกัดที่ได้จากการรังวัดกับค่าพิกัดที่ได้จากการประมวลผลจากภาพถ่าย ในขั้นตอนการประมวลผลจะไม่นำจุดตรวจสอบไปใช้ในการตรึงค่าพิกัดแต่จะใช่เพื่อการตรวจสอบความถูกต้องแทนทำให้ทราบคุณภาพของผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลภาพถ่ายนั่นเอง​




ซึ่งขั้นตอนการทำจะเริ่มจาก ทำการสร้างจุด GCP และ Checkpoint (ถ้ามี) จากนั้นทำการบินโดรนเพื่อทำการเก็บข้อมูลภาพถ่าย (บินด้วยวิธีการ RTK / PPK) จากนั้นนำภาพและข้อมูลที่ได้มาทำการประมวลผลด้วยซอฟท์แวร์ จึงจะได้ผลลัพธ์ออกมา เช่น แผนที่ภาพออโธ แบบจำลองความสูง แบบจำลองสามมิติ เส้นชันความสูง เพื่อนำไปใช้ในงานด้านต่างๆต่อไป​ 




Point Cloud คืออะไร

พ้อยคลาวด์ หรือพิกัดจุดภาพสามมิติคือตัวแทนของสภาพภูมิประเทศที่นำมาแสดงให้อยู่ในระบบพิกัดสามมิติของคอมพิวเตอร์ โดยทำการคำนวณค่าพิกัดของวัตถุที่แสดงอยู่บนแต่ละพิเซลผ่านกระบวนการ Computer Vision โดยแต่ละจุดจะมีค่าพิกัดของตนเองจากนั้นำจุดเหล่านี้แต่ละจุดมาแสดงพร้อมกันจนกลายเป็นกลุ่มก้อนของจุดที่สะท้อนเป็นตัวแทนของสภาพภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่บนภาพนั่นเอง สามารถใช้ Point Cloud เหล่านี้ในการคำนวณปริมาตรต่างๆ ระยะทาง ความสูง และพื้นที่ได้อีกด้วย​ Point Cloud สามารถทำการจำแนกแต่ละจุดตามแต่ละชนิดของจุดโดยขึ้นอยู่กับชนิดและอัลกอลิทึมของซอฟท์แวร์ที่ใช้​



ผลลัพธ์ที่ได้จากวิธีการ Photogrammetry

Orthomap/Orthomosaic
  1. แผนที่ภาพออโธ หรือ แผนที่ภาพสีเชิงเลข (Orthomap/Orthomosaic)

คือ ภาพถ่ายทางอากาศเชิงเลขที่ผ่านกระบวนการ ดัดแก้ (Orthorectification) หรือขจัดความคลาดเคลื่อนอันเกิดจากผลกระทบของการถ่ายภาพเอียง (Tilted) ควง (Swing) และหมุนรอบแรงโน้มถ่วงของโลก ความสูงต่ำของภูมิประเทศ (Relief Displacement) โดยอ้างอิง กับระบบพิกัดแผนที่โลก เช่น UTM (Universal Transverse Mercator) ซึ่งทําให้ตําแหน่งขนาดรูป รูปร่างของ วัตถุและภูมิประเทศที่ปรากฏบนภาพที่ดัดแก้แล้วมีความถูกต้องเช่นเดียวกับแผนที่ที่ใช้งานทั่วไป

 

DEM
  1. แบบจำลองความสูง (DEM : Digital Elevation Model) ​

ข้อมูลระดับความสูงใน รูปแบบดิจิทัล ที่มีการเก็บค่าความสูงในลักษณะตารางกริดเป็นพื้นผิวต่อเนื่อง ซึ่งแบบจําลองระดับสูงมีความ แตกต่างของการวัดที่ตําแหน่งของจุดระดับสูง 2 ลักษณะ คือ Digital Surface Model (DSM) และ Digital Terrain Model (DTM)

 

2.1 แบบจำลองพื้นผิว (DSM : Digital Surface Model)​

ข้อมูลจุดระดับความสูง พื้นผิวของโลกในรูปแบบดิจิทัล โดยรวมเอาความสูงของสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งปกคลุมพื้นผิวโลก เช่น ต้นไม้พืชพรรณ และตึกอาคาร ไว้ด้วย​


2.3 แบบจำลองภูมิประเทศ (DTM : Digital Terrain Model)

ข้อมูลจุดระดับความสูงพื้นผิวของโลกในรูปแบบดิจิทัลโดยมีการขจัดความสูงของส่ิงปลูกสร้างหรือส่ิงปกคลุมพื้นผิวโลกออกให้เหลือเฉพาะความสูงของพื้นผิวโลกจริงๆข้อมูลระดับความสูงของภูมิประเทศ อาทิ ทางนํ้า ขอบบริเวณพื้นนํ้า อาคาร ถนนและแนวสันเขาเป็นต้น

Digital Surface model Vs. Digital Terrian Model

DSM DTM
  1. เส้นชันความสูง (Contour line)​

      คือ เส้นที่แสดงลักษณะความสูงต่ำของพื้นที่ เป็นเส้น จินตนาการของระดับที่คงที่บนพื้นผิวภูมิประเทศ ที่มีค่าระดับเท่ากัน เส้นชั้นความสูงที่มีค่าเป็นบวก คือเส้นที่ แสดงค่าความสูงเหนือระดับทะเลปานกลาง ส่วนเส้นชั้นความสูงที่มีค่าเป็นลบเป็นเส้นชั้นความสูงที่แสดงค่า ความสูงต่ำกว่าระดับทะเลปานกลาง 




ตัวอย่างการใช้งาน Photogrammetryในอุตสาหกรรมต่างๆ

  1. Construction: สร้าง Digital Twin ในพื้นที่การก่อสร้าง

ทำงานร่วมกับ Building Information monitoring (BIM) เพื่อเช็คความคลาดเคลื่อนของการก่อสร้างโดยนำมาเทียบกับ Blueprints ที่ทำไว้ในช่วงวางแผนงาน อีกทั้งยังใช้เพื่อเช็คความคืบหน้าของโครงการและดูภาพรวมของWorkflowการทำงานของทีมงาน : เพิ่มประสิทธิภาพใน งานก่อสร้าง ด้วยโดรนสำรวจ

2. Land Surveying: รังวัดที่ดินอย่างแม่นยำ

ด้วยการทำงานกับ RTK การทำ Photgrammetry สามารถใช้วัดขนาดพื้นที่ดินอย่างแม่นยำพร้อมรายเอียดวัตถุในพื้นที่ที่ครบท้วน ซึ่งจากภาพ ออโธ หรือ DSM สามารถนำไปต่อยอดเพื่อใช้ในงานด้านอื่นๆอีกมากมาย

3. Minning: ตั้งแต่การก่อสร้าง ถึงการขนส่ง

ผลลัพธ์จากการทำ Photogrammetry ในงานเหมือง สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานตั้งแต่การออกแบบ การขุดเจาะ การระเบิด จนถึงการขนส่ง อ่านฉบับเต็มๆได้ที่:สำรวจ เหมืองแร่ และคำนวนปริมาตรแร่ที่ขุดได้ด้วยโดรน

4. Inspection: ตรวจสอบเสา Telecommunication

เช็คหาร่องรอยสนิมหรือตรวจเช็คสภาพอุปกรณ์ว่ายังทำงานได้อย่างปกติดีหรือไม่ ในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เช่นเสาวิทยุซึ่งมีข้อจำกัดสำหรับการ Inspection ด้วยเจ้าหน้าที่ภาคพื้น

5. Stockpile:คำนวปริมาตรกองวัสดุ

ในงานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่มีปริมาตรกองวัสดุขนาดใหญ่ สามารถใช้ภาพถ่ายทางอากาศมาประกอบกันเพื่อคำนวนหาปริมาตรของ Stockpileได้ อ่านวิธีการคำนวนเต็มๆที่:สำรวจ เหมืองแร่ และคำนวนปริมาตรแร่ที่ขุดได้ด้วยโดรน

6. Archaeological site: โมเดลสามมิติเพื่อการวางแผนซ่อมบำรุง

ใช้โดรนเพื่อเก็บภาพโดยรวมของโบราณสถาน เพื่อต่อยอดในการวางแผนซ่อมบำรุงและบูรณะสถานที่โดยรอบโดยไม่สร้างความเสียหายเพิ่มเติมจากการเข้าไปสำรวจในพื้นที่โดยตรง

7. Accident and Rescue Mission: โมเดลสามมิติและแผนที่เพื่อการกู้ภัย

ใช้โดรนบินเพื่อเก็บภาพที่เกิดเหตุหรืออาณาบริเวณโดยรอบของการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเพื่อตรวจสอบและวางแผนการช่วยเหลืออย่างตรงจุด อีกทั้งยังสามารถบินเก็บภาพสถานที่เกิดเหตุเพื่อนำมาวิเคราะห์เพิ่มเติมจากมุมมองที่สังเกตุด้วยตาเปล่าได้ยาก

การทำ Photogrammetry ก่อนที่โดรนจะเป็นที่แพร่หลาย

ในอดีตวิศวกรจำเป็นต้องใช้อากาศยาน หรือเครื่องบินขนาดใหญ่เพื่อบันทึกภาพถ่ายทางอากาศ โดยเป็นการติดตั้งกล้องหรืออุปกรณ์สำรวจต่างๆ เพื่อระบุตำแหน่งของอากาศยานที่แม่นยำรวมถึงระบบ IMU ที่ระบุทิศทางและการวางตัวในแนวต่างๆของอากาศยาน แต่ข้อเสียคือการบินถ่ายภาพต้องทำการบินที่มีความสูงมาก ทำให้ภาพที่ได้มักจะมีความละเอียดที่ต่ำจึงจำเป็นต้องใช้กล้องถ่ายภาพที่มีคุณภาพสูง การบินถ่ายภาพแต่ละครั้งจึงมีค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงที่สูงตามไปด้วย (ทศวรรษใหม่ของการรังวัดที่ดินด้วยโดรน)

เมื่อเปรียบเทียบในปัจจุบัน การใช้โดรนเพื่อทำการถ่ายภาพหรือเก็บข้อมูลต่างๆแทนการใช้อากาศยานจึงเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าและเหมาะสมที่จะใช้โดรนในการทำ Photogrammetry เนื่องจากประหยัดงบประมาณและมีความเสี่ยงที่ต่ำกว่าการใช้อากาศยานขนาดใหญ่นั้นเอง (โดรนสำรวจ DJI Matrice 350 RTK และ Mavic 3 Enterprise) 



LiDAR VS. Photogrammetry

Photogrammetry ต่างกับ LiDAR อย่างไร?

Light Detection and Ranging  เป็นวิธีการตรวจจับระยะไกลที่ใช้พลังงานเลเซอร์เพื่อวัดระยะระหว่าง ตัวSensorและวัตถุบนพื้นดิน โดยพลังงานที่ส่งออกไปจะกระทบไปยังวัตถุ และส่งกลับมาที่ Sensor ทำให้เราสามารถคำนวนและวิเคราะห์ระยะเวลาที่พลังงานเลเซอร์สะท้อนกลับมา ทำให้ สามาร สร้างภาพ 3 มิติที่แม่นยำของพื้นที่และวัตถุที่อยู่ด้านล่าง 

ตัว LiDAR นั้นจัดเป็น “Active Sensor” กล่าวคือสามกำเนิดหลังงานด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาคลื่นแสงจากดวงอาทิตย์ในการช่วยสะท้อนค่าพลังงานกลับมายัง  Sensor ทำให้การใช้งานนั้นครอบคลุมถึงพื้นที่ที่แสงอาทิตย์เข้าไปไม่ถึง และช่วงเวลากลางคืน (LiDAR ในโดรนสำรวจและวิธีการประมวลผล Point CLoud)

Aonic Thailand ผู้ให้บริการโดรนครบวงจร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมคลิก

Recent Posts

888starz bet casino Obtenha agora seus códigos de bónus sem depósito de 888starz Casino para jogar online em Portugal em 2024

888starz bet casino Obtenha agora seus códigos de bónus sem depósito de 888starz Casino para jogar online em Portugal em

Book of Ra Slot – Echtgeld und Kostenlos in Deutschen Online-Casinos spielen

Содержимое Book Of Ra™ Magic Ursprünge und Entwicklung Moderne Varianten und Erweiterungen Book Of Ra Magic Grundlegende Mechanismen Spezielle Features

Вулкан (Vulkan) – официальный сайт онлайн казино

Содержимое Игровые автоматы Вулкан Россия: краткий обзор игр в казино Широкий выбор игр Бонусы и акции Безопасность и надежность Удобство

Get In Touch

Have questions? Our drone experts are here to help

en_USEnglish