LiDAR ในโดรนสำรวจและวิธีการประมวลผล Point Cloud

LiDAR DJI Matrice 350 RTK Zenmuse L1

เทคโนโลยี LiDAR หรือ “Light Detection and Ranging” ถือเป็นจุดชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของการสำรวจด้วยโดรนอย่างสิ้นเชิง ด้วยศักยภาพในการประมวลผลข้อมูล 3 มิติความละเอียดสูงอย่างแม่นยำ ซึ่งสามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมป่าไม้ ที่เทคโนโลยีนี้ ช่วยในการประเมินความหนาแน่นของต้นไม้และติดตามสภาพของป่า การวางผังเมืองและตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐาน การประเมิณมาตราฐานเหมืองแร่ การคำนวนคลังสินค้า (Stockpile) การสำรวจโบราณสถาน และอื่นๆอีกมาก

ในบทความนี้ Aonic จะพาทุกท่านสำรวจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี LiDARพร้อมวิธีการประมวลผลข้อมูล Point Cloud เพื่อสร้างแผนที่ 3 มิติที่แม่นยำ 



LiDAR คืออะไรและทำงานอย่างไร?

Light Detection and Ranging หรือ LiDAR  คือวิธีการตรวจจับระยะไกลที่ใช้พลังงานเลเซอร์เพื่อวัดระยะระหว่าง ตัวSensorและวัตถุบนพื้นดิน โดยพลังงานที่ส่งออกไปจะกระทบไปยังวัตถุ และส่งกลับมาที่ Sensor ทำให้เราสามารถคำนวนและวิเคราะห์ระยะเวลาที่พลังงานเลเซอร์สะท้อนกลับมา ทำให้ สามาร สร้างภาพ 3 มิติที่แม่นยำของพื้นที่และวัตถุที่อยู่ด้านล่าง 

ตัว LiDAR นั้นจัดเป็น “Active Sensor” กล่าวคือสามกำเนิดหลังงานด้วยตัวเองโดยไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาคลื่นแสงจากดวงอาทิตย์ในการช่วยสะท้อนค่าพลังงานกลับมายัง  Sensor ทำให้การใช้งานนั้นครอบคลุมถึงพื้นที่ที่แสงอาทิตย์เข้าไปไม่ถึง และช่วงเวลากลางคืน



เซ็นเซอร์และอุปกรณ์ LiDAR

โดยปกติ Sensor LiDAR นั้นมีอยู่หลายประเภท ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามการใช้งาน ในบางกรณี อาจจะติดตั้งไว้ที่ Base station หรือติดไว้กับ รถยนตร์ ซึ่งวิธีการทำงานของเทคโนโลยี นั้นยังคงใช้หลักการที่เหมือนกันแต่จะแตกต่างกันแค่วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นๆ ว่าจะมาจากภาคพื้นดิน หรือ บนฟ้า



โดยการติดตั้ง  SENSOR ไว้ที่โดรน (โดรนสำรวจ DJI Matrice 350 RTK และ Mavic 3 Enterprise) และ เป็นอีกหนึ่งวิธีที่เป็นที่นิยม ณ ขณะนี้ เนื่องจากสามารถครอบคลุมการส่งค่าพลังงานในพื้นที่ขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้ค่าพิกัดสามมิติที่มีความแม่นยำสูง จากการใช้งานร่วมกับ เครื่องรับ สัญญาณ GNSS (RTK นวัตกรรมแม่นยำสูงเพื่อโดรนสำรวจ)  และกล้องโดรนที่มีความละเอียดสูง โดยเมื่อทำการเก็บข้อมูลแล้วจะต้องนำข้อมูลเหล่านั้นมาทำการแปลงสัญญาณจากคลื่นไฟฟ้าให้กลายมาเป็นค่าพิกัดในระบบสามมิติโดยคำนวณร่วมกับข้อมูลจาก IMU และ GNSS ด้วยซอฟท์แวร์ต่างๆ 



ความสามารถในการการเก็บข้อมูลผ่านสิ่งกีดขวาง

LiDAR

เนื่องจากคุณสมบัติของวัตุบางชนิดที่สะท้อนแสงบางส่วนและปล่อยให้แสงทะลุผ่านบางส่วน เช่นในพื้นที่ที่เป็นพืชปกคลุม อาทิ ในสวนยางหรือป่าชุก การส่งคลื่นแสงออกไป 1 ครั้งยังสามารถมีค่าการสะท้อนกลับมาที่มากกว่า  1 ทำให้เรามีข้อมูลที่มากขึ้นและช่วยให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้ถูกต้องและแม่นยำ โดยเฉพาะในงานวิเคราะห์พื้นผิวดินในพื้นที่ป่า​ ซึ่งคลื่นแสงสามารถทะลุใบไม้บางส่วนได้ จากยอดไม้ไปต่อยังช่วงกลางต้นและสุดท้ายกระทบกับวัตถุทึบแสงเช่นลำต้นหรือผิวดิน ลักษณะเหล่านี้จะทำให้เราสามารถมีข้อมูลผิวดินและข้อมูลลำต้นข้องต้นไม้ได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้การทำงานเป็นไปได้ง่ายกว่าในอดีตมาก  โดยการรับค่าคุณสมบัติกลับมานั้นเรียกว่า “Multiple returns”



LiDAR Multiple Return

multiple returns คือ การที่คลื่นที่ส่งไป 1 ครั้งมีการสะท้อนค่ากลับมาหลายค่า เนื่องจากการสะท้อนในครั้งแรกวัตถุไม่ได้ดูดซับพลังงานของคลื่นไม่หมด ทำให้คลื่นยังเดินทางต่อไปในทิศทางเดิมจากนั้นกระทบวัตถุที่ 2 , 3 , 4 จนกระทบถึงวัตถุที่ทึบแสงและสะท้อนกลับมา คลื่นจะทะลุไปจนกว่าจะกระทบยังวัตถุทึบแสงและจะสะท้อนพลังงานกลับมาทั้งหมดจนกระทั้ง ไม่สามารถทะลุผ่านไปต่อได้อีกแล้ว ซึ่งการสะท้อนกลับมาในรูปแบบนี้ทำให้เราสามารถมีจำนวน Point Cloud ที่มากขึ้น และส่งผลการนำข้อมูลไปสร้างแบบจำลองต่างๆมีความแม่นยำมากขึ้นนั่นเอง ​

Point Cloud คืออะไร?

พ้อยคลาวด์หรือพิกัดจุดภาพสามมิติคือตัวแทนของสภาพภูมิประเทศที่นำมาแสดงให้อยู่ในระบบพิกัดสามมิติของคอมพิวเตอร์ โดยทำการคำนวณค่าพิกัดของวัตถุที่แสดงอยู่บนแต่ละพิเซลผ่านกระบวนการ Computer Vision ซึ่งแต่ละจุดจะมีค่าพิกัดของตนเองจากนั้นนำจุดเหล่านี้แต่ละจุดมาแสดงพร้อมกันจนกลายเป็นกลุ่มก้อนที่สะท้อนเป็นตัวแทนของสภาพภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่บนภาพนั่นเอง สามารถใช้ Point Cloud เหล่านี้ในการคำนวณปริมาตรต่างๆ ระยะทาง ความสูง และพื้นที่ได้อีกด้วย​




ตัวอย่างการใช้งาน LiDAR ในอุตสาหกรรมต่างๆ

Flooding Prevention
อุตสาหกรรมป่าและโดรน
แบบจำลองการไหลของน้ำ
LiDAR สแกนเหมือง

สร้างแผนที่ความสูงชันของพื้นที่โดยปราศจากสิ่งกัดขวางและต้นไม้ (Digital terrain modeling)

แผนที่ DTM ช่วยให้ทีมสำรวจประเมิณคุณลักษณะของพื้นผิวดินโดยที่ไม่มีความสูงของสิ่งปลูกสร้างหรือต้นไม้รวมอยู่ ซึ่งจะช่วยให้การวางแผนการก่อสร้างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งการขนย้ายดิน การปรับหน้าดิน หรือ รื้อถอนสิ่งกีดขวางนั้นมีความปลอดภัยมากขึ้น และทำให้ผู้กระกอบการสามารถตีราคาค่าใช้จ่ายได้แม่นยำขึ้นอีกด้วย

 

แบบจำลองที่อยู่อาศัยสามมิติ

สร้างแบบจำลองของอาคารและสาธารณูปโภคในหมู่บ้านจัดสรร เพื่อใช่ในงาน ตรวจสอบความปลอดภัย และการออกแบบการจัดการเชิงนิติบุคคล อีกทั้งยังสามารถใช้ตรวจสอบ แผง Solar cell บนอาคารแต่ละหลัง

 

 

 

งานสำรวจเพื่อจดทำแบบจำลองอุทกภัย

สำรวจและทำแผนที่ทางบกและทางน้ำเพื่อหาความสูงชันของพื้นที่เพื่อจำลองทิศทางการไหลและพื้นที่ที่น้ำสามารถท่วมขังในบริเวณนั้นๆได้

 

นับจำนวนต้นไม้พร้อมวัดขนาดเส้นรอบวงลำต้น

อุตสาหกรรมป่าไม้นับเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สามารถดึงศักยภาพการทำงานของไลดาห์ออกมาใช้ได้สูงสุด ด้วยความสามารถในการสแกนผ่านใบไม้ซึ่งปกคลุมด้านบนของลำต้นทำให้ผู้ประกอบการสามารถ จำแนกแยกแยะต้นไม้แต่ละต้นออกจากกัน ซึ่งช่วยให้การนับจำนวนและตรวจเช็คไม้ยืนต้นเชิงพาณิชย์ เช่น ต้นยางพารา หรือ ไม้ยืนต้นเพื่อการก่อสร้างและทำกระดาษ เป็นเรื่องที่ง่ายดาย

ผู้ใช้งานนั้นยังสามารถตรวจสอบเส้นรอบวงของต้นไม้แต่ละต้นได้อีกด้วย เพื่อการประเมินราคาและการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด

 

การตรวจสอบเสาร์ไฟฟ้า และอุปกรณ์โทรคมนาคม

การตรวจสอบทางอากาศที่แม่นยำและการเก็บรายละเอียดปลีกย่อยโดยเฉพาะ “สายไฟ” ซึ่งในอดีตนั้นนับเป็นหนึ่งในส่วนประกอบที่นำมาสร้างแบบจำลองยากที่สุดเนื่องจากมีขนาดที่เล็กและยากต่อการแยกออกจากวัตถุอื่นๆ ในปัจจุบันเราสามารถนำ ภาพสามมิติมา ปรับเปลี่ยนโครงข่ายไฟฟ้า และแผนงานการก่อสร้างด้านสาธาณูปโภคอื่นๆที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพมากขึ้น

งานตรวจสอบและสำรวจโครงสร้างขนาดใหญ่

สำรวจและทำแผนที่โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่อาทิ เขื่อน ทางรถไฟ อุโมง เพื่อการว่างแผนซ่อมแซมและลดความเสี่ยอันตรายของผู้ปฏิบัติงาน

 

แบบจำลองภูมิประเทศสามมิติเพื่อการวางผังเมือง

การวางผังเมืองและจัดการระบบน้ำเพื่อการเกษตรสามารถทำได้ง่ายๆผ่าน แบบจำลองสามมิติที่ชี้วัดขนาดตามความเป็นจริงของพื้นที่นั้น

 

 

งานเหมืองแร่

ผู้ประกอบการสามารถนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช่ใน ไซท์งานได้ในทุกระยะของการปฏิบัติงาน โดยจะแบ่งอออกเป็น 1. ระยะการวางระบบและจัดการความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน 2. ระยะการดำเนินการงานขุดเจาะและก่อนสร้าง 3. ระยะการจัดการ Supply Chain ซึ่งการใช้โดรนได้เข้ามาช่วยให้การทำงานในแต่ละระยะนั้น สมูธมากขึ้นจากข้อมูลที่แม่นยำและการพลิกแพลงข้อมูลมาใช้ได้อย่างหลากหลาย อาทิ การวางแผนการขุดเจาะและระเบิดพื้นที่อ้างอิงโดยช้อมูลเชิงภูมิประเทศ การทำแผนที่อุโมงค์ในเหมือง การบินโดรนเข้าไปในเหมืองเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยและทำแผนที่รับมืออุบัติเหตุ (บทความ การสำรวจเหมืองแร่ด้วยโดรน)

คำนวนปริมาตรกองวัสดุ (Stockpile)

การจัดการ Stockpile อย่างมีประสิทธิภาพคือหนึ่งในกุญแจสำคัญของการบริหารธุรกิจ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถคาดการณ์ราคาและตีมูลค่าของกองวัสดุที่หามาได้อย่างตรงจุด อีกทั้งยังเป็นการช่วยวางแผนการขนส่ง LiDAR สามารช่วยวัดปริมาตรกองวัสดุต่างขนาดใหญ่ได้อย่างแม่นย่ำและเพียงไม่กี่ขั้นตอน (วิธีการหาปริมาตร Stockpile ด้วยโดรน)

การตรวจสอบและทำแผนที่จุดเกิดเหตุ พร้อมวางแผนการฟื้นฟูความเสียหาย

LiDAR ช่วยให้การเก็บข้อมูลที่พื้นที่เกิดเหตุที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยวัตถุที่อาจให้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อหลักฐานหรือสถานที่เกิดเหตุโดยสามารถเก็บข้อมูลอย่างครบท้วนไม่ว่าจะเป็นตอนกลางวันหรือกลางคืน  ซึ่งภาพแบบจำลองสามมิตินั้นจะช่วยอำนวยความสะดวกในการ ประเมิณความเสียหาย สร้างเส้นทางอพยบและกู้ภัย ประเมิณพื้นที่เสี่ยงเพิ่มเติม พร้อมทั้งข้อมูลทั้งหมดยังสามารถนำไปใช้เป็นหลักฐานทางกฏหมายประกอบการให้ความหรือตัดสินคดี 

Meta Tourism and Metaverse

เทรนการสร้างโลกเสมือนจริงเพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในหลากหลายอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงการท่องเที่ยว โมเดลสามมิติเสมือนจริงของแลนด์มาร์กและโบราณสถานเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่หน้าสนใจซึ่งเป็นการประมวลผลจาก Point Cloud

เข้าใจกระบวนการประมวลผล Point Cloud

1. การประมวลผล ข้อมูลดิบ Raw Data

Raw Data ส่วนใหญ่จะถูกบันทึกอยู่ใน format เฉพาะของผู้ผลิตหรือแบรนด์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ซอฟท์แวร์เฉพาะของแต่ละแบรนด์ในการแปลงข้อมูลเหล่านี้ให้ออกมาเป็น Point Cloud ที่สามารถนำออกมาใช้งานร่วมกับซอฟท์แวร์อื่นๆได้ โดยข้อมูลดิบอาจมีรูปภาพรวมอยู่ด้วยหาก Sensor นั้นติดตั้งกล้องถ่ายภาพสีร่วมด้วย​

ผลลัพธ์แรก- Point Cloud

ข้อมูลที่ถูกประมวลผลแปลงจากค่าคลื่นไฟฟ้ามาเป็นค่าพิกัดจุดสามมิติเรียบร้อยแล้วผลลัพธ์แรกที่ได้คือ Point Cloud ซึ่งจะมีการบันทึกค่าการสะท้อนว่าเป็นค่าที่เท่าใด (หากตัว Sensor รองรับการสะท้อนหลายค่า ) ความเข้มของการสะท้อนค่าพิกัดสามมิติของจุดนั้นรวมถึงสีของจุดนั้น ถ้าหาก Sensor นั้นมีกล้องถ่ายภาพร่วมอยู่ด้วย หรือรองรับการทำ colorize point cloud ​



2.ปรับแก้ความแม่นยำของ Point Cloud

หากต้องการให้ Point Cloud มีความถูกต้องแม่นยำทางต่ำแหน่งมากขึ้นเราสามารถทำการปรับแก้เพิ่มเติมได้ด้วยการทำ Boresight Calibration  , Strip alignment , Smooth Point , outliner filtering และ Vertical Adjustment ได้

 

Boresight Calibration
Strip alignment / Strip adjustment

2.1 Boresight Calibration

การปรับแก้ค่าคลาดเคลื่อนทางตำแหน่งที่เกิดจากการ shift หรือการเคลื่อนของตำแหน่งระหว่างค่าพิกัด GNSS ที่อยู่บนโดรน ค่าพิกัดทางสามมิติของ IMU และค่า shift ระหว่างตำแหน่งของ IMU และ  Sensor โดยการปรับแก้นี้จะเป็นการคำนวณค่าพิกัดของ point Cloud ใหม่อีกครั้งโดยจะช่วยให้ค่าพิกัดของ point cloud มีความถูกต้องทางตำแหน่งมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะค่าพิกัดในทางราบ\

2.2 Strip alignment / Strip adjustment

การปรับแก้ให้ Point Cloud ที่ได้จากการสแกนบน 2 แนวบินที่ติดกันมีการแนบชิดได้สนิทกันมากยิ่งขึ้น โดยจะช่วยให้การเหลื่อมกันระหว่างข้อมูลสองแนวบินมีความเหลื่อมกันน้อยลง ทำให้ข้อมูลมีสภาพตรงความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น และส่งผลให้ Point Cloud มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้นด้วย​




2.3 Vertical Adjustment

การปรับแก้ค่าความสูง โดยเราสามารถทำการเก็บข้อมูลภาคสนามเพื่อนำข้อมูลนั้นมาทำการปรับแก้ความสูงให้เป็นไปตามระบบความสูงที่เราต้องการได้ โดยการปรับแก้จะเป็นการปรับแก้แค่ค่าความสูงเท่านั้นไม่ส่งผลต่อค่าพิกัดในทางราบ




2.4 Noise Removal and Smoothing

เทคนิคการลบความรบกวนช่วยดีโน้สคลาวด์จุด เป็นการปรับแก้ให้ Point Cloud มีความสมูทและสมจริงมากยิ่งขึ้น และจะเป็นการลบข้อมูลที่เป็น error ออกไปเพื่อให้การคำนวณต่างๆเป็นไปอย่างถูกต้องตามสภาพพื้นที่จริงมากที่สุด

3. จำแนกประเภท Point Cloud Classification

หลังทำการปรับแก้ความแม่นยำของข้อมูลแล้ว การจำแนกประเภทของ Point Cloud เพื่อให้การแยกแยะและจำแนกวัตถุเป็นไปได้ง่ายขึ้นเมื่อทำการสร้างแผนที่และแบบจำลอง  จากการจำแนกวัตถุออกจากพื้นผิวที่ดินให้เด่นชัดมากขึ้น

ผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้

 หลังจากที่ปรับแก้ Point Cloud ให้มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้นแล้ว เราสามารถนำ Point Cloud เหล่านั้นมาทำการสร้างแบบจำลองความสูง Digital Surface Model (DSM) หรือนำมา Classify เพื่อแยกประเภทของ Point Cloud จากนั้นนำ Point Cloud ประเภทต่างๆมาทำการสร้างแบบจำลองความสูงสำหรับเฉพาะเจาะจงเช่น Digital Terrain Model หรือนำ Point Cloud ต้นไม้มาเพื่อคำนวณปริมาตรหรือความสูงเป็นต้น

สามารถเพิ่มความแม่นยำในการเก็บข้อมูล ได้อย่างไร?

ปรับแก้วิธีการเก็บข้อมูลให้เหมาะสม

อีกหนึ่งวิธีที่นอกเหนือจากการปรับแก้ข้อมูลหลังการ เก็บข้อมูลมาแล้วนั้น คือการตรวจสอบและเช็ควิธีการเก็บข้อมูลด้วยโดรน ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อความถูกต้องและแม่นยำของ LiDAR Point cloud ​ได้แก่

  • LiDAR Sensor Calibration​
  • IMU Accuracy​
  • GNSS Accuracy​
  • Flight Altitude​
  • Flight Speed​
  • Data Adjustment

ตรวจสอบความหนาแน่นของ Point Cloud

ขึ้นอยู่กับความต้องการของโปรเจ็คในการพิจารณาว่าจะเพิ่มหรือลดจำนวนPoint Cloud เพื่อลดปริมาณข้อมูลที่อาจจะไม่จำเป็นออกไปในช่วงประมวลผล ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อจำนวน Point Cloud ของ LiDAR (Point Density) ​ได้แก่

  • Scan Rate ​
  • Scan Mode ​
  • Number of return​
  • Flight Altitude​
  • Flight Speed​
  • Scan Side-Overlap​

LiDAR VS. Photogrammetry

Photogrammetry ต่างกับ LiDAR อย่างไร?

Photogrammetry เป็นวิธีการรังวัดทางอ้อมผ่านทางภาพถ่าย โดยใช้ซอฟท์แวร์เพื่อทำการประมวลผลคำนวณหาค่าพิกัดบนพื้นโลกของแต่ละพิกเซลบนภาพหลายร้อยภาพรวมกันจนกลายเป็นจุดภาพสามมิติหรือ Point Cloud ที่เป็นตัวแทนของลักษณะของภูมิประเทศหรือวัตถุต่างๆที่อยู่บนภาพให้มาแสดงอยู่ในรูปแบบของจุดพิกัดสามมิติในระบบคอมพิวเตอร์  การถ่ายภาพต้องทำการถ่ายให้มีส่วนซ้อนส่วนเกย (Overrlap -Sitelap) กันมากพอโดยหากมีส่วนซ้อนส่วนกายมากเท่าไหร่ค่าพิกัดที่คำนวณได้จะมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น​

จากนั้นจะนำภาพเหล่านั้นที่ได้มาต่อกันและดัดแก้ความผิดเพี้ยนทางตำแหน่งจากนั้นรวมกันจนกลายเป็นภาพแผนที่ใหญ่ผืนเดียวหรือที่เรียกว่าแผนที่ภาพออโธ (Orthomosaic) เพื่อใช้ในงานรังวัดและการทำแผนที่ นอกจากนั้นยังสามารถนำ Point Cloud มาทำการสร้างแบบจำลองความสูง (DSM) แบบจำลองความสูงภูมิประเทศ (DTM) รวมถึงเส้นชันความสูง (Contour Line) เพื่อนำมาใช้งานทางด้านการก่อสร้างและการออกแบบ (หลักการ Photogrammetry ด้วยโดรนสำรวจ)

ใหม่ DJI Zenmuse L2 Sensor ตัวใหม่ 5 Return

DJI Zenmuse L1 พร้อมลุยในทุกภารกิจ

Aonic Thailand ผู้ให้บริการโดรนครบวงจร

ผู้จำหน่ายโดรนอุตสาหกรรมอย่างเป็นทางการของ DJI พร้อมบริการการทำแผนที่ทุกแขนง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมคลิก

Recent Posts

Speel Big Bass Splash in online casino’s in Nederland – Ontdek onze top selectie

Speel Big Bass Splash in online casino’s in Nederland – Ontdek onze top selectie Table of contents Speel Big Bass

Entre no Vai De Bet e Descubra o Excitante Mundo do Cassino Online – Faça login e Jogue Agora!

Entre no Vai De Bet e Descubra o Excitante Mundo do Cassino Online – Faça login e Jogue Agora! Table

Мен PIN UP Казино ade Insert keyin

Мен PIN UP Казино ade Insert keyin Contents Жіберіңдер ПIN UP Казинога кіру PIN UP Казино ade кіру Жіберу ПIN

Get In Touch

Have questions? Our drone experts are here to help

thThai