หลักการ Photogrammetry ด้วยโดรนสำรวจ

Photogrammetry โดยย่อแล้วคือการรังวัดโดยอาศัยภาพถ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายจากกล้องถ่ายภาพทั่วไปหรือภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งเข้ามาปฏิวัติการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ให้มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย อาศัยค่าการจัดวางภายนอกของภาพ (ExteriorOrientation Parameter,EOP) หรือก็คือค่าพิกัดสามมิติและทิศทางการวางตัวในแกนสามมิติของกล้อง ณ เวลาที่ทำการถ่ายเพื่อนำมาคำนวณหาค่าพิกัดของวัตถุบนภาพโดยอาศัยสมการร่วมเส้น (Collinearity Equation) ร่วมกับระยะโฟกัส (Focal range) ในการคำนวณ ได้เป็นค่าพิกัดบนพื้นโลกของวัตถุที่อยู่บนภาพ  ในบทความนี้ Aonic จะพาทุกท่านสำรวจหลักการพื้นฐานของ Photogrammetry  พร้อมจำแนกรูปแบบ แผนที่และแบบจำลองที่สามารถนำไปต่อยอดได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ผ่านการทำ Photogrammetry ด้วยโดรน หลักการทำงาน https://www.youtube.com/watch?v=Blr3suSQt-Q Photogrammetry เป็นวิธีการรังวัดทางอ้อมผ่านทางภาพถ่าย โดยใช้ซอฟท์แวร์เพื่อทำการประมวลผลคำนวณหาค่าพิกัดบนพื้นโลกของแต่ละพิกเซลบนภาพหลายร้อยภาพรวมกันจนกลายเป็นจุดภาพสามมิติหรือ Point Cloud ที่เป็นตัวแทนของลักษณะของภูมิประเทศหรือวัตถุต่างๆที่อยู่บนภาพให้มาแสดงอยู่ในรูปแบบของจุดพิกัดสามมิติในระบบคอมพิวเตอร์  การถ่ายภาพต้องทำการถ่ายให้มีส่วนซ้อนส่วนเกย (Overrlap -Sitelap) กันมากพอโดยหากมีส่วนซ้อนส่วนกายมากเท่าไหร่ค่าพิกัดที่คำนวณได้จะมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น​ จากนั้นจะนำภาพเหล่านั้นที่ได้มาต่อกันและดัดแก้ความผิดเพี้ยนทางตำแหน่งจากนั้นรวมกันจนกลายเป็นภาพแผนที่ใหญ่ผืนเดียวหรือที่เรียกว่าแผนที่ภาพออโธ (Orthomosaic) เพื่อใช้ในงานรังวัดและการทำแผนที่ นอกจากนั้นยังสามารถนำ Point Cloud มาทำการสร้างแบบจำลองความสูง (DSM) แบบจำลองความสูงภูมิประเทศ (DTM) รวมถึงเส้นชันความสูง (Contour Line) เพื่อนำมาใช้งานทางด้านการก่อสร้างและการออกแบบ วิธีวางแผนการบินและปัจจัยที่ส่งผลต่อความถูกต้อง Image […]

LiDAR ในโดรนสำรวจและวิธีการประมวลผล Point Cloud

เทคโนโลยี LiDAR หรือ “Light Detection and Ranging” ถือเป็นจุดชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของการสำรวจด้วยโดรนอย่างสิ้นเชิง ด้วยศักยภาพในการประมวลผลข้อมูล 3 มิติความละเอียดสูงอย่างแม่นยำ ซึ่งสามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมป่าไม้ ที่เทคโนโลยีนี้ ช่วยในการประเมินความหนาแน่นของต้นไม้และติดตามสภาพของป่า การวางผังเมืองและตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐาน การประเมิณมาตราฐานเหมืองแร่ การคำนวนคลังสินค้า (Stockpile) การสำรวจโบราณสถาน และอื่นๆอีกมาก ในบทความนี้ Aonic จะพาทุกท่านสำรวจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี LiDARพร้อมวิธีการประมวลผลข้อมูล Point Cloud เพื่อสร้างแผนที่ 3 มิติที่แม่นยำ  LiDAR คืออะไรและทำงานอย่างไร? Light Detection and Ranging หรือ LiDAR  คือวิธีการตรวจจับระยะไกลที่ใช้พลังงานเลเซอร์เพื่อวัดระยะระหว่าง ตัวSensorและวัตถุบนพื้นดิน โดยพลังงานที่ส่งออกไปจะกระทบไปยังวัตถุ และส่งกลับมาที่ Sensor ทำให้เราสามารถคำนวนและวิเคราะห์ระยะเวลาที่พลังงานเลเซอร์สะท้อนกลับมา ทำให้ สามาร สร้างภาพ 3 มิติที่แม่นยำของพื้นที่และวัตถุที่อยู่ด้านล่าง  ตัว LiDAR นั้นจัดเป็น “Active Sensor” […]

thThai