สำรวจ เหมืองแร่ และคำนวนปริมาตรแร่ที่ขุดได้ด้วยโดรน

สำรวจ เหมืองแร่ ด้วยโดรน

สืบเนื่องจาก หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานการทำเหมือง  พ.ศ. 2562  โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน ซึ่งกำหนดให้เหมืองแร่ที่มีขนาดไม่เกิน 100 ไร่ ต้องจัดทำรายงานข้อมูลการรังวัดภูมิประเทศพื้นที่ประทานบัตรด้วย UAV ปีละ1 ครั้ง และเหมืองแร่เนื้อที่ไม่เกิน 625 ไร่ จัดส่งรายงานปีละ 2 ครั้ง ทำให้โดรนกลายเป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามองและเริ่มถูกนำมาใช้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในอุตสาหกรรม เหมืองแร่ ของประเทศไทย แต่รู้หรือไม่ว่านอกเหนือจากการทำรายงาน เทคโนโลยีโดรนยังสามารถเพิ่มศักยาภาพการทำงานในด้านต่างๆของเหมืองแร่ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ หรืออีกนัยคือตั้งแต่วางระบบการขุดเจาะ จนถึงการคำนวนหาปริมาณแร่ที่ขุดได้ 

ในบทความนี้ Aonic Thailand ผู้ให้บริการโดรนอุตสาหกรรมครบวงจร ขอพาทุกท่านสำรวจการประยุกร์ใช้โดรนในด้านต่างๆเพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานของ เหมืองแร่ และการคำนวนหาปริมาตรของวัสดุ (Stockpile) ซึ่งส่งผลถึงการจัดการ Supply Chain ของเหมืองแร่ 



การประยุกต์ใช้โดรนใน เหมืองแร่

หลักๆแล้วเราสามารถนำโดรนมาประยุกต์ใช่ใน ไซท์งานได้ในทุกระยะของการปฏิบัติงาน โดยจะแบ่งอออกเป็น 1. ระยะการวางระบบและจัดการความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน 2. ระยะการดำเนินการงานขุดเจาะและก่อนสร้าง 3. ระยะการจัดการ Supply Chain ซึ่งการใช้โดรนได้เข้ามาช่วยให้การทำงานในแต่ละระยะนั้น สมูธมากขึ้นจากข้อมูลที่แม่นยำและการพลิกแพลงข้อมูลมาใช้ได้อย่างหลากหลายโดยใช้ผู้ดำเนินงานเพียงไม่กี่คน

Drone Photogrammetry

ระยะที่ 1 การวางระบบและจัดการความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน

  • การสำรวจพื้นที่ทางอากาศเพื่อตรวจสอบภูมิประเทศโดยรอบและสร้างแผนที่สามมิติในการช่วยวางแผนการจัดการพื้นที่
  • การวางแผนการขุดเจาะและระเบิดพื้นที่อ้างอิงโดยช้อมูลเชิงภูมิประเทศ จาก แผนที่ Orthomap และ แผนที่ Digital Terrain Model (DTM)
  • การตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐานและวัตถุที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการจัดการพื้นที่โดยรอบ
  • การตรวจสอบเชิงวิศวกรรมธรณีเทคนิค
  • การออกแบบแนวทางอพยพและรับมืออุบัติเหตุ
LiDAR

Case Study

การใช้ Sensor LiDAR  DJI Zenmuse L1 คู่กับ  DJI Matrice 350 RTK เพื่อตรวจสอบพื้นที่ก่อนการขุดเจาะ โดยตัว Sensor จะส่งคลื่นพลังทะลุต้นไม้และพื้นป่าและนำข้อมูลมาสร้างเป็นแผนที่ Digital Terrian Model เพื่อให้ทีมสำรวจประเมิณคุณลักษณะของพื้นผิวดินโดยที่ไม่มีความสูงของสิ่งปลูกสร้างหรือต้นไม้รวมอยู่ด้วย  นอกเหนือจากนั้นแผนที่สามมิติโดยรอบของพื้นที่ซึ่งถูกประมวลผลมาอย่างละเอียดด้วย Point cloud จำนวนมากสามารถนำมาวิเคราะห์เพื่อ อกกแบบวิธีการขนย้ายดินและหรือถอนสิ่งกีดขวางให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และทำให้ผู้ประกอบการคำนวณค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (LiDAR ในโดรนสำรวจและวิธีประมวลผล Point Cloud)



ระยะที่ 2 การดำเนินการงานขุดเจาะและก่อนสร้าง

  • การทำแผนที่ฐาน (Base Mapping) เพื่อออกแบบ ไซต์ก่อสร้าง
  • การสำรวจและตรวจสอบ ไซต์งานระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง
  • การเปรียบเทียบหลังการสร้างไซต์งาน
  • การทำแผนที่อุโมงค์ในเหมือง
  • Real-time monitoring: ตรวจเช็คความปลอดภัยแบบเรียลไทม์
  • ติดตามการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในเหมือง
  • บันทึกและเช็คอุปกรณ์ในไซต์ก่อสร้างรายวัน

Case study 

การกำกับดูแลทีมปฏิบัติงานแบบเรียลไทม์ ด้วย กล้อง Zenmuse H20T คู่กับ DJI Matrice 350 RTK  ซึ่งสามารถตรวจสอบความเป็นไปของไซต์งานได้จากระยะไกลถึง 1.5 กิโลเมตร รวมทั้ง ฟีเจอร์ Smart-Tracking ที่ช่วยให้เราติดตามวัตถุที่เคลื่อนที่ในภาพพร้อมระบุพิกัดได้อย่างลื่นไหลด้วยการซูมแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นรถขนวัสดุหรือผู้ปฏิบัติงานใน Blind Spotที่การตรวจเช็คด้วยกล้องทั่วๆไปไม่สามารถทำได้ 

นอกเหนือจากนี้ยังสามารถเพิ่มแท็ก เพื่อเป็นการจดบันทึก และเซฟค่าพิกัด/ หมายเลขซีเรียล /วัน/เวลา/ ระดับความสูงของวัตถุลงในภาพที่ถูกบันทึกได้โดยตรง เพื่อทำให้งานเอกสารและการเก็บข้อมูลเป็นเรื่องที่ง่ายมากขึ้น พร้อมที่จะใช้ในการอ้างอิงทางกฏหมาย ซึ่งเหมาะมากกับการบินเก็บข้อมูลในพื้นที่ซ้ำๆในระยะยาวเพื่อการเก็บค่าสถิติ 



การใช้ประโยชน์จากโดรน ใน เหมืองแร่

ระยะที่ 3 การจัดการ Supply Chain

  • คำนวณและจัดการ Stockpile
  • การจัดการคลังสินค้า
  • การวางแผนและตรวจเช็คโลจิสติก
  • การคาดการ์ณผลประกอบการ

โดรนกับการคำนวณหา ปริมาตรกองวัสดุ (Stockpile)

การจัดการ Stockpile อย่างมีประสิทธิภาพคือหนึ่งในกุญแจสำคัญของการบริหารธุรกิจเหมืองแร่ เพราะความแม่นยำในการบอกปริมาตรแร่ที่หามาได้ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถคาดการณ์ราคาและตีมูลค่าของแร่ที่หามาได้อย่างตรงจุด อีกทั้งยังเป็นการช่วยวางแผนการขนส่ง เนื่องด้วยในเหมืองแร่บางแห่ง อาจมีกองวัสดุต่างชนิดกันเป็นจำนวนมากซึ่งทำให้การบริหารคลังสินค้าเป็นเรื่องที่ท้าทายมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ในปัจจุบัน การใช้โดรนเพื่อวัดปริมาตร Stockplie กลายเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีความแม่นยำสูงและใช้ผู้ปฏิบัติการเพียงไม่กี่คน

เราจะวัดกองปริมาตรวัสดุด้วยโดรนได้อย่างไร?

ในภาพรวมแล้ว เราสามารถวัดปริมาตร Stockplie ได้ผ่าน 2 วิธีที่หนึ่งคือการสร้างแบบจำลองสามมิติ ผ่านการ ทำ Photogrammetry ซึ่งคือการนำภาพถ่ายจากโดรนที่มีการทับซ้อนกันบางส่วนมาประติดประต่อกันแล้วปรับแก้ค่าความถูกต้องผ่าน ซอฟต์แวร์และสร้างแบบจำลองออกมาผ่าน ข้อมูล Point Cloud ซึ่งจำนวนภาพที่ต้องการขึ้นอยู่กับขนาดของ Stockpile  หลังจากได้ข้อมูล Point Cloud ออกมาแล้วเราจะสามารถนำแบบจำลองที่ปรับแก้ความผิดเพี้ยนของขนาดแล้วมาคำนวนเข้ากับสูตรทางคณิตศาสตร์เพื่อหาปริมาตร

วิธีที่สองในการเก็บข้อมูล Point Cloud คือผ่าน Sensor LiDAR ซึ่งจะได้จำนวน Point Cloud ที่มีความหนาแน่นและมากกว่า เหมาะกับงานที่มีพื้นที่ๆซับซ้อนและต้องการความระเอียดขั้นสูงในการนำมาทำแผนที่ทั้งจะประมวลผลได้ดีกว่าในพื้นที่ป่าชุกและมีสิ่งกีดขวางที่เป็นอุปสรรคต่อการต่อภาพ แลกกับราคาในการดำเนินการที่สูงกว่าวิธีที่1 



LiDAR สแกนเหมือง
คำนวนกองวัสดุ

Case study

การคำนวน Stockpile หลังจากการบินเก็บภาพ โดยใช้โปรแกรม DJI Terra

โดยคล่าวแล้วเราสามารถทำการตั้งให้โดรนบินเก็บภาพอัตโนมัติได้ด้วยการทำ Mapping Mission ผ่าน DJI Pilot 2 App บนโดรน Controller  ซึ่งสามารถทำได้ง่ายๆเพียงลากจุดเพื่อคลุมพื้นที่ กองวัสดุที่ต้องการทราบขนาด ด้วยฟีเจอร์ Real-Time Terrian Follow ในโดรน DJI  ทำให้คงการบินได้ในความสูงระดับเดียวกันอย่างสม่ำเสมอตลอด ไฟล์ท ซึ่ง Altitude ที่แนะนำจะอยู่ที่ประมาณ 70-75 เมตรเหนือระดับความสูงพื้นดิน เพราะจะเป็นความสูงที่รองรับสเถียรภาพของการ แทค GCPs และ Checkpoints นักบินสามารถปรับลดความสูงของการบินได้หากพื้นที่เหมืองมีขนาดไม่ใหญ่มาก ทั้งนี้ในงานเหมือง Sidelap และ Overlap ที่ 70%และ 80% จะทำให้การประมวลผลหลังจากบินเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น (หลักการ Photogrammetry ด้วยโดรนสำรวจ)

Data Processing

หากเราได้มาร์คตำแหน่ง GCP และ Checkpoints ตอนเก็บข้อมูลแล้ว สามารถ ใช้ฟีเจอร์ GCP Management tool เพื่อแทคมาร์คในรูปเพื่อให้ง่ายต่อการประมวลผล หลังจากได้แผนที่ 2มิติ/3มิติ มาแล้ว สามารถใช้ฟีเจอร์  Annotation and Measurement tool  ซึ่งผู้ดำเนินการสามารถลากพินที่ปรากฏขึ้นแล้วครอบคลุมพื้นที่ ที่ต้องการวัดขนาดได้เลย 

หลังจากทำการคำนวณเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธที่ได้จะออกมาในรูปแบบ Cut and Fill Volume ซึ่ง Cut Volume คือปริมาตรที่อยู่เหนือความสูงของ Base Height และ Fill Volume คือปริมาตรที่อยู่ต่ำกว่า Base Hight ซึ่งเราสามารถแก้ไข Base Plane ได้ สองแบบ

Mean Plane: วิธีนี้จะคำนวณหาฐานของ Stockpile โดยการหาค่าเฉลี่ยจากความสูงของจุดรอบฐานของกองวัสดุที่เรากำหนดไว้ในSoftware เหมาะแก่การหาขนาดกอง Stockpile ขนาดใหญ่ และตั้งอยู่บนพื้นที่ไม่มีรั้วรอบขอบชิด

Lowest Plane: วิธีนี้เหมาะกับ กองวัสดุที่ถูกเก็บในบังเกอร์หรือถูกกองอยู่ติดชิดผนัง ซึ่งมีฐานและขอบชัดเจนและเป็นพื้นที่ที่มีความสูงสม่ำเสมอ เราสามารถวัดจากจุดที่ต่ำที่สุดของกองวัสดุได้โดยตรงโดยไม่ต้องหาค่าเฉลี่ย

หลังจากนั้นเราสามารถ Export ข้อมูลออกมาเก็บไว้เพื่อทำการเปรียบเทียบ.ในระยะยาว





โดรนและซอฟแวร์ที่ใช้ในการ รังวัดเหมืองและคำนวน Stockpile

การเลือกเครื่องมือในการเก็บข้อมูล เหมืองแร่ นั้นจะมีปัจจัยหลักๆอยู่แค่สองอย่างนั้นคือ 

1.ความคมชัดของรูปภาพ

 กล้องที่มีเซนต์เซอร์ขนาดใหญ่ Mechanical ชัตเตอร์ ออพติเคอลเซนเซอร์คุณภาพสูง และจำนวนเมกะพิกเซล

2.ความแม่นยำของข้อมูล

เพื่อความแม่นยำสูงสุด การทำงานร่วมกันของ โดรนและ เครื่องรับสัญญาณ GNSS จึงเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ที่จะทำให้การส่งค่าปรับแก้พิกัดระหว่างการบินเก็บข้อมูลเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดด้วยความคาดเคลื่อนเพียงแค่ไม่กี่เซนติเมตร จากการทำ RTK ( RTK นวัตกรรมแม่นยำสูงสุดเพื่อโดรนสำรวจ)  เพราะถึงแม้เหมืองแร่ หรือ Stockpile จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดอย่างมีนัยยะสำคัญในเวลาอันสั้น แต่เพื่อความแม่นยำหากมีการเพิ่มเติมขนาดของ Stockplie วันต่อวัน การทำ RTK และ GCPs จะช่วยทำให้การคลาดเคลื่อนหลักเมตรเหลือเพียงไม่กี่เซนติเมตรเท่านั้น

อย่างไรก็ตามสิ่งที่จำเป็นมากที่สุดคือการการวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมและสถานที่จริง อาทิ หากสภาพนั้นล้อมรอบไปด้วย ป่า หรือ สิ่งกีดขวางทางธรรมชาติการใช้ LiDAR นั้นจะตอบโจทย์ได้ดีมากกว่าในด้านความแม่นยำมากกว่าการทำ Photogrammetry ปกติ

โดรนที่แนะนำ

ในปัจจุบันจะมีโดรนที่แนะอยู่ทั้งหมดสองรุ่นนั้นคือ Mavic 3 Enterprise ที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด กับ  โดรนขนาดใหญ่ DJI Matrice 350 RTK ซึ่งรองรับการติดตั้งเพย์โหลด (กล้องสำหรับโดรน) ซึ่งตัวกล้องก็ถูกออกแบบมาให้มีความคมชัดของภาพที่มากกว่า และอีกทั้งยังสามารถติดตั้ง Sensor LiDAR ได้ในขณะที่ Mavic 3 Enterprise จะไม่สามารถติดตั้ง Sensor LiDAR ได้

Matrice 350 RTK

Matrice 350 RTK (M350)

Mavic 3 Enterprise

Mavic 3 Multispectral

รายงานตรวจสอบมาตรฐานเหมืองแร่

การประเมินมาตรฐาน เหมืองแร่ ด้วยโดรน

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้มีการกำหนดรูปแบบการรายงานผลที่ครบท้วนต้องประกอบไปด้วย

  1. แผนที่ภาพถ่ายแนวดิ่ง
  2. แผนที่ภูมิประเทศแสดงเส้นชั้นความสูง หรือ แบบจำลองภูมิประเทศ (DEM) 
  3. รายงานการคำนวฯหาปริมาณแร่ หิน ดิน ทราย กองแร่ จาก แบบจำลองภูมิประเทศ (ถ้ามี)

โดยมีคำแนะนำรายละเอียดการเก็บภาพไว้ดังนี้

  • แผนที่ภาพถ่ายแนวดิ่ง มีขนาดจุดภาพ (GSD) ไม่เกิน 10 ซม. แสดงขอบเขตประทานบัตรและพื้นที่ข้างเคียง 
  • แผนที่เส้นชั้นความสูงจากข้อมูล DEM ที่มีขนาดจุดภาพ (GSD) ไม่เกิน 50 ซม. 
  • ภาพถ่ายมีส่วนซ้อนของภาพตามแนวบินไม่ต่ำกว่า 85% และระหว่างแนวบินไม่ต่ำกว่า 75% 
  • ภาพถ่ายมีขนาดจุดภาพ (GSD) ไม่เกิน 7.5 ซม. 
  • ความคลาดเคลื่อนของวิธีการรังวัดเป้าบังคับ ในแนวราบไม่เกิน 3 ซม. และในแนวดิ่งไม่เกิน 5 ซม. 
  • วางเป้าบังคับภาพถ่ายไม่ต่ำกว่า 5 จุด ในพื้นที่ทำเหมือง ในกรณีพื้นที่ขนาดใหญ่ ให้วางเป้าบังคับไม่ต่ำกว่า 5 จุดต่อ ตร.กม. โดย กระจายตัวตามหลักการรังวัด และเพิ่มเติมในพื้นที่ที่มีความแตกต่างด้านความสูง 

นอกจากนี้จะต้องรายงานข้อมูลต้นฉบับที่ได้จากการรังวัด ได้แก่ 

  • ภาพถ่ายทางอากาศ 
  • ข้อมูลจุดควบคุมภาพถ่าย
  • หมุดหลักฐานที่เป็นจุดตรวจสอบ 
  • บันทึกหรือรายงานการ 
  • ประมวลผลภาพถ่าย (Log file) ซอฟท์แวร์ที่ใช้ 
  • ข้อมูลตำแหน่งของจุดในภูมิประเทศแบบ Point cloud: ค่าพิกัด และค่าสีข้อมูล เป็นต้น

ชนิดแร่ คุณลักษณะแร่ และปริมาณแร่ท่ีผลิตได้

(1) ชนิดแร่ คุณลักษณะ และปริมาณแร่ที่จาหน่ายออกไป พร้อมรายละเอียดของผู้ซื้อแร่และการชำระค่าภาคหลวงแร่
(2) ชนิดแร่ และปริมาณแร่ที่คงเหลือในเหมือง
(3) จานวนพื้นท่ีท่ีทำเหมือง
(4) จานวนดินหรือหินปนแร่ท่ีขุดได้
(5) รายละเอียดเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการทำเหมือง

Aonic Thailand ผู้ให้บริการโดรนครบวงจร

ให้คำปรึกษาและเทรนนิ่งการใช้งานโดรน พร้อมรับบริการตรวจสอบคุณภาพ เหมืองแร่ และวัดขนาด Sotckpile ของแร่ที่ขุดได้ พร้อมกรอกแบบฟอร์มได้ทันที

บริการตรวจสอบเหมืองแร่ด้วยโดรนกับ Aonic

ต้องการปรึกษาหรือสั่งซื้อสินค้า

Line Official: @aonic.th

Recent Posts

Experience Casino Kings UK: Play Your Favorite Games Online in English

Experience Casino Kings UK: Play Your Favorite Games Online in English Table Unleashing the Thrill: A Comprehensive Guide to Online

Experience Mine Island Canguru: Play Your Favorite Casino Games Online.

Experience Mine Island Canguru: Play Your Favorite Casino Games Online. A good title tag should accurately reflect the content of

Παίξτε το παιχνίδι των Πυλών του Ολύμπου χωρis κόστος! 1000 δωρεάν παιχνίδι στο καζίνο του ιντερνετ!

Παίξτε το παιχνίδι των Πυλών του Ολύμπου χωρis κόστος! 1000 δωρεάν παιχνίδι στο καζίνο του ιντερνετ! ** Table Πώς να

Get In Touch

Have questions? Our drone experts are here to help

thThai