ในปัจจุบัน โดรนสำรวจได้ปฏิวัติวงการทำรังวัดที่ดินและการทำแผนที่เชิงพาณิชย์รวมถึงภาคอุตสาหกรรม ด้วยความสามารถในการรวบรวมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพความแม่นยำ ระดับความคลาดเคลื่อนเพียงไม่กี่เซนติเมตร เนื่องด้วยตอนนี้ตัวเลือกโดรนในตลาดมีมากมาย และผนวกกับความเข้าใจผิดระหว่าง โดรนทั่วไป และโดรนเพื่อการสำรวจ (โดรนแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร) ว่าเป็นโดรนประเภทเดียวกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง โดรนสำรวจแต่ละรุ่น เพื่อเลือกใช้โดรนที่เหมาะสมต่อการทำงาน
วันนี้ Aonic Thailand ขอนำเสนอโดรนเพื่อการสำรวจตัวท็อปทั้งสามรุ่นของ DJI ได้แก่ Matrice 350 RTK, Mavic 3 Enterprise และ Mavic 3 Enterprise Thermal มาดูกันว่าแต่ละรุ่นมีความเหมือนต่างกันอย่างไรบ้าง
รูปร่างและความสะดวกในการพกพา Design & Portability
Mavic 3 Enterprise & Mavic 3 Enterprise Thermal
ทั้งสองรุ่นมีขนาดที่กะทัดรัดและถูกออกแบบมาเพื่อการพกพาที่สะดวก ซึ่งตัวโดรนมีน้ำหนักเพียง 915-960 กรัม มีขนาดลำตัวโดรนที่เล็กกว่า Matrice 350 RTK ถึง 4 เท่า จึงอาจจะเหมาะกับผู้ที่ต้องการความคล่องตัวในการทำงานภาคสนามที่มากกว่า
Matric 350 RTK
ถือเป็นโดรน DJI Enterprise ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีน้ำหนักที่มากกว่ารุ่นอื่นๆ โดยแลกกับโครงสร้างที่แข็งแรงและทนทานต่อการปฏิบัติงานที่หลากหลาย พร้อมกับความสามารถในการติดตั้ง Payloads ที่มีน้ำหนักมากได้อย่างสบายๆ
การทำงานร่วมกับ Payloads (Payloads capacity)
Mavic 3 Enterprise: มีข้อจำกัดในการติดตั้ง Payloads เพิ่มเติมเนื่องจากลำตัวที่มีขนาดเล็ก แต่ทั้งนั้นผู้ใช้ยังคงสามารถติดตั้ง Modular payloads ที่ออกแบบมาเฉพาะสำหรับโดรนรุ่นนี้ได้ อาทิ กล้องจับความร้อน สปอตไลท์ ลำโพง รวมถึง Mavic 3 Enterpise Dual camera ผู้ใช้สามารถสลับเปลี่ยน Payloads ต่างๆได้ระหว่างการพักเครื่องโดรน
Mavic 3 Enterprise Thermal: โดยพื้นฐานทั้งรูปร่างและขนาดของโดรนนั้นไม่ต่างจาก Mavic 3 Enterprise รุ่นปกติ แต่ตัวโดรนมาพร้อมกล้องตรวจจับความร้อนที่เป็น Fixed payload ซึ่งไม่สามารถถอดเปลี่ยนไปใช้ payloads ตัวอื่นๆได้
Matrice 350 RTK: สามารถบรรทุก Payloads ได้หลากหลายและที่มีน้ำหนักเยอะได้มากกว่า ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถติดตั้ง Professional Payloads และอุปกรณ์สำรวจขั้นสูงได้มากถึงสามชิ้นในคลาวเดียว ผู้ใช้สามารถ ติดตั้ง กล้องที่มีความละเอียดสูง เซนเซอร์ LiDAR สปอตไลท์ขนาดใหญ่และลำโพงกระจายเสียงหรืออุปกรณ์ต่างๆได้ในเที่ยวบินเดียวเพื่อดึงศักยภาพสูงสุดของการทำงานร่วมกันของPayload แต่ละชิ้น
เวลาขึ้นบินในหนึ่งไฟล์ท (Flight Time and Range)
Mavic 3 Enterprise และ Mavic 3 Enterprise Thermal: สามารถบินได้นานถึง 45 นาที แต่ทั้งนี้ระยะเวลาในการบินนั้นก็ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของ payload และการตั้งค่าการสำรวจในแต่ละครั้งด้วยเช่นกัน นอกเหนือไปจากนี้ ในส่วนของระยะการสั่งการจากรีโมทคอนโทรลไปยังโดรนสามารถสั่งงานได้ในไกลถึง 10 กิโลเมตร (6.2 ไมล์)
Matrice 350 RTK: ในทางกลับกันโดรนรุ่นนี้สามารถบินได้ถึง 55 นาที โดยมีระยะการควบคุมระหว่างรีโมทและโดรนอยู่ที่ 20 กิโลเมตร (4.3 ไมล์)
การใช้งาน
Mavic 3 Enterprise
ในส่วนของการใช้งาน โดรน M3E นั้น ได้รับการออกแบบมาสำหรับมืออาชีพและอุตสาหกรรมที่ต้องการโดรนขนาดพกพาและอเนกประสงค์ ซึ่งโดรนรุ่นนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานต่างๆ เช่น ปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย การตรวจสอบ การเฝ้าระวัง และความปลอดภัยสาธารณะ
Mavic 3 Enterprise Thermal
ด้วยความสามารถในการถ่ายภาพธรรมดาและแบบความร้อนได้ ทำให้เอื้อนำนวยต่อการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นเหตุที่ปัจจุบันมีการนำโดรนไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมหลากหลายแขนง เช่น การตรวจสอบอาคาร การตรวจสอบไฟฟ้า การสนับสนุนการดับเพลิง และการเกษตรแม่นยำ
Matrice 350 RTK
ฟังก์ชันการทำงานต่างนั้นๆ ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมต่อการใช้งานแก่มืออาชีพที่ต้องการความแม่นยำและสามารถในการประมวลผลขั้นสูง เพื่อใช้ในการทำการสำรวจบริเวณต่างๆ อีกทั้งยังมี payload คุณภาพสูงให้เลือกหลากหลายตามการใช้งาน ซึ่งอุตสาหกรรมที่นิยมใช้และได้รับการยอมรับกันอย่างแพร่หลาย อาทิ การทำแผนที่ การก่อสร้าง การเกษตร และการตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐาน
ราคา
Mavic 3 Enterprise
M3E นั้นจะมีราคาที่เบากว่าโดรนสำรวจอื่นๆ เนื่องด้วยข้อจำกัดในการติดตั้ง payloads อีกทั้งโดรนไม่มีการติดตั้งกล้องจับความร้อน
Mavic 3 Enterprise Thermal
เนื่องด้วยการติตตั้งกล้อง thermal ที่มาพร้อมกับโดรนจึงทำให้ราคาสูงกว่า Mavic 3 Enterprise (M3E)
แต่หากเปรียบเทียบกับ M350RTK ที่ติดตั้ง payloads เป็นกล้อง thermal โดรน Mavic 3 Enterprise Thermal (M3T) ถือว่าเป็นโดรนที่ราคาย่อมเยามากกว่า
Matrice 350 RTK
ด้วยคุณภาพโดรนระดับ high end ที่มาพร้อมคุณสมบัติการทำงานและความสามารถที่สูงกว่ารุ่นอื่นๆ จึงทำให้โดรนมีราคาที่สูงขึ้น
การถ่ายภาพตรวจจับความร้อน
Mavic 3 Enterprise
ไม่มีกล้องถ่ายภาพความร้อนในตัว อย่างไรก็ตาม โดรนรุ่นนี้สามารถใช้งานได้กับกล้อง DJI Mavic 3 Enterprise Dual ซึ่งรวมกล้องภาพ 4K กับกล้องจับความร้อนไว้ในเครื่องเดียว โดยกล้องตรวจจับความร้อนนั้นมีความละเอียด 640×512 พิกเซล ทำให้สามารถตรวจจับและแสดงภาพลายเซ็นความร้อนในการใช้งานต่างๆ ได้
Mavic 3 Enterprise Thermal
ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการใช้งานด้านการถ่ายภาพความร้อน มาพร้อมกับกล้องถ่ายภาพความร้อนความละเอียดสูงในตัวที่มีความละเอียด 640×512 พิกเซล ซึ่งช่วยให้ถ่ายภาพความร้อนได้แม่นยำและมีรายละเอียดมากขึ้น อย่างไรก็ตามราคาสูงขึ้นนั้น เนื่องมาจากการรวมกล้องความร้อนเป็นน้ำหนักบรรทุกคงที่นั่นเอง
Matrice 350 RTK
ท้ายนี้ ในส่วนของกล้องตรวจจับความร้อนของโดรนนั้นสามารถติดตั้ง payloads เสริมได้โดยตรง ซึ่งปัจจุบันผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้ถึง 2 รุ่น ซึ่งคือ Zenmuse H20N และ Zenmuse H20 Series