หลักการ Photogrammetry ด้วยโดรนสำรวจ

Photogrammetry โดยย่อแล้วคือการรังวัดโดยอาศัยภาพถ่าย ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายจากกล้องถ่ายภาพทั่วไปหรือภาพถ่ายทางอากาศ ซึ่งเข้ามาปฏิวัติการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลทางภูมิศาสตร์ให้มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย อาศัยค่าการจัดวางภายนอกของภาพ (ExteriorOrientation Parameter,EOP) หรือก็คือค่าพิกัดสามมิติและทิศทางการวางตัวในแกนสามมิติของกล้อง ณ เวลาที่ทำการถ่ายเพื่อนำมาคำนวณหาค่าพิกัดของวัตถุบนภาพโดยอาศัยสมการร่วมเส้น (Collinearity Equation) ร่วมกับระยะโฟกัส (Focal range) ในการคำนวณ ได้เป็นค่าพิกัดบนพื้นโลกของวัตถุที่อยู่บนภาพ  ในบทความนี้ Aonic จะพาทุกท่านสำรวจหลักการพื้นฐานของ Photogrammetry  พร้อมจำแนกรูปแบบ แผนที่และแบบจำลองที่สามารถนำไปต่อยอดได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม ผ่านการทำ Photogrammetry ด้วยโดรน หลักการทำงาน https://www.youtube.com/watch?v=Blr3suSQt-Q Photogrammetry เป็นวิธีการรังวัดทางอ้อมผ่านทางภาพถ่าย โดยใช้ซอฟท์แวร์เพื่อทำการประมวลผลคำนวณหาค่าพิกัดบนพื้นโลกของแต่ละพิกเซลบนภาพหลายร้อยภาพรวมกันจนกลายเป็นจุดภาพสามมิติหรือ Point Cloud ที่เป็นตัวแทนของลักษณะของภูมิประเทศหรือวัตถุต่างๆที่อยู่บนภาพให้มาแสดงอยู่ในรูปแบบของจุดพิกัดสามมิติในระบบคอมพิวเตอร์  การถ่ายภาพต้องทำการถ่ายให้มีส่วนซ้อนส่วนเกย (Overrlap -Sitelap) กันมากพอโดยหากมีส่วนซ้อนส่วนกายมากเท่าไหร่ค่าพิกัดที่คำนวณได้จะมีความถูกต้องมากยิ่งขึ้น​ จากนั้นจะนำภาพเหล่านั้นที่ได้มาต่อกันและดัดแก้ความผิดเพี้ยนทางตำแหน่งจากนั้นรวมกันจนกลายเป็นภาพแผนที่ใหญ่ผืนเดียวหรือที่เรียกว่าแผนที่ภาพออโธ (Orthomosaic) เพื่อใช้ในงานรังวัดและการทำแผนที่ นอกจากนั้นยังสามารถนำ Point Cloud มาทำการสร้างแบบจำลองความสูง (DSM) แบบจำลองความสูงภูมิประเทศ (DTM) รวมถึงเส้นชันความสูง (Contour Line) เพื่อนำมาใช้งานทางด้านการก่อสร้างและการออกแบบ วิธีวางแผนการบินและปัจจัยที่ส่งผลต่อความถูกต้อง Image […]

LiDAR ในโดรนสำรวจและวิธีการประมวลผล Point Cloud

เทคโนโลยี LiDAR หรือ “Light Detection and Ranging” ถือเป็นจุดชี้วัดการเปลี่ยนแปลงของการสำรวจด้วยโดรนอย่างสิ้นเชิง ด้วยศักยภาพในการประมวลผลข้อมูล 3 มิติความละเอียดสูงอย่างแม่นยำ ซึ่งสามารถถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมป่าไม้ ที่เทคโนโลยีนี้ ช่วยในการประเมินความหนาแน่นของต้นไม้และติดตามสภาพของป่า การวางผังเมืองและตรวจสอบโครงสร้างพื้นฐาน การประเมิณมาตราฐานเหมืองแร่ การคำนวนคลังสินค้า (Stockpile) การสำรวจโบราณสถาน และอื่นๆอีกมาก ในบทความนี้ Aonic จะพาทุกท่านสำรวจข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยี LiDARพร้อมวิธีการประมวลผลข้อมูล Point Cloud เพื่อสร้างแผนที่ 3 มิติที่แม่นยำ  LiDAR คืออะไรและทำงานอย่างไร? Light Detection and Ranging หรือ LiDAR  คือวิธีการตรวจจับระยะไกลที่ใช้พลังงานเลเซอร์เพื่อวัดระยะระหว่าง ตัวSensorและวัตถุบนพื้นดิน โดยพลังงานที่ส่งออกไปจะกระทบไปยังวัตถุ และส่งกลับมาที่ Sensor ทำให้เราสามารถคำนวนและวิเคราะห์ระยะเวลาที่พลังงานเลเซอร์สะท้อนกลับมา ทำให้ สามาร สร้างภาพ 3 มิติที่แม่นยำของพื้นที่และวัตถุที่อยู่ด้านล่าง  ตัว LiDAR นั้นจัดเป็น “Active Sensor” […]

เครื่องรับสัญญาณ GNSS กับการสำรวจเหมืองแร่

การใช้ เครื่องรับสัญญาณ GNSS ในการสำรวจเหมืองถือเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสกัดทรัพยากรจากพื้นดิน เนื่องจากการใช้อุปกรณ์เสริมนั้นสามารถนำมาประยุกต์ใช้และสร้างความสะดวกสบายแก่การดำเนินงานเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการทำแผนที่ การวางแผน และการตรวจสอบไซต์การขุดได้อย่างแม่นยำ  ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเครื่องรับสัญญาณ GNSS  (Global Navigation Satellite System) ได้ปฏิวัติการสำรวจเหมืองแร่อย่างมากในด้านความแม่นยำ ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ในบทความนี้ Aonic Thailand จะเจาะลึกบทบาทของตัวรับ GNSS ในการสำรวจเหมืองแร่เพื่อให้เห็นว่าเทคโนโลยีนี้เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมการขุดอย่างไร (อ่านเติมเติม: RTK คืออะไรและมีความสำคัญอย่างไร) ฟังค์ชันสำคัญของ เครื่องรับสัญญาณ GNSS เพื่อการวางแผนที่ดียิ่งขึ้น ด้วยการใช้ประโยชน์จากสัญญาณกลุ่มดาวเทียม GNSS หลายกลุ่ม เช่น GPS, GLONASS, Galileo และ BeiDou ซึ่งทำงานร่วมกับเครื่องรับ GNSS จึงทำให้สามารถคำนวณพิกัดของแร่ รวมถึงการวางตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ โดยสิ่งนี้นับเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างแผนที่ไซต์เหมืองอย่างละเอียด เพื่อนำไปปรับเค้าโครงของการดำเนินการให้เหมาะสมแก่การขุดนั่นเอง การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ในการสำรวจเหมืองแบบดั้งเดิม การรวบรวมข้อมูลมักเกี่ยวข้องกับการวัดด้วยตนเองและเทคนิคการสำรวจภาคพื้นดิน ซึ่งอาจใช้เวลานานอีกทั้งยังต้องใช้แรงงานจำนวนมากด้วยเช่นกัน ในทางกลับกันการสำรวจที่มีการใช้งาน GNSS ด้วยโดรนหรือ GNSS rover units สามารถช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้กับกระบวนการรวบรวมข้อมูล […]

ทศวรรษใหม่ของการ รังวัดที่ดิน ด้วยโดรน

ในทศวรรษที่ผ่านมา ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีได้เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงการ ‘รังวัดที่ดิน’ ด้วยเช่นกัน วิธีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีแบบดั้งเดิมนั้น กำลังถูกท้าทายด้วยแนวทางใหม่ปฏิวัติวงการซึ่งนั่นคือการสำรวจด้วยโดรน ปัจจุบันเทคโนโลยีโดรนครอบคลุมถึงการติดตั้งเซ็นเซอร์และกล้องขั้นสูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บข้อมูลให้มีความแม่นยำและมีรายละเอียดที่ครบถ้วนแก่การใช้งาน วันนี้ Aonic Thailand จะอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างการสำรวจด้วยโดรนกับวิธีการแบบดั้งเดิม โดยจะเน้นให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละวิธี ข้อดีของการ รังวัดที่ดิน ด้วยโดรน ความแม่นยำสูง ข้อได้เปรียบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสำรวจด้วยโดรนคือความสามารถในการเก็บข้อมูลที่มีความละเอียดและแม่นยำสูง ซึ่งแตกต่างจากเทคนิคการสำรวจแบบดั้งเดิมที่มักเกี่ยวข้องกับการวัดด้วยมือและอาศัยอุปกรณ์ภาคพื้นดินที่มีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้ง่าย ในทางกลับกัน โดรนที่ติดตั้งเทคโนโลยี GNSS (ทำหน้าที่คล้าย GPS สำหรับระบุตำแหน่งพื้นที่) และเซ็นเซอร์ขั้นสูงสามารถจับข้อมูลด้วยระดับความแม่นยำแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งช่วยในการลดข้อผิดพลาดและสามารถเพิ่มคุณภาพโดยรวมของการสำรวจได้ ประสิทธิภาพสูงด้วยเวลาอันสั้น ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการจัดการเวลาเป็นสิ่งสำคัญในทุกๆโครงการ และการสำรวจด้วยโดรนมีข้อได้เปรียบอย่างมากในแง่ของประสิทธิภาพการทำงานและการประหยัดเวลา วิธีการทำรังวัดแบบดั้งเดิมจำเป็นต้องลงมือไปไปสำรวจที่ดินด้วยตนเอง อาศัยการวัดด้วยมือซึ่งถือเป็นการประมวลผลข้อมูลที่ใช้เวลานาน อย่างไรก็ตามด้วยนวัตกรรมโดรนทำให้สามารถครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ในเวลาอันสั้น จับภาพทางอากาศหรือการสแกน LiDAR โดยที่อาศัยการใช้แรงงานน้อยที่สุด นอกจากนี้ยังสามารถประมวลผลข้อมูลที่รวบรวมโดยโดรนได้อย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถตัดสินใจและดำเนินโครงการได้เร็วขึ้น ความปลอดภัยและการเข้าถึง การสำรวจด้วยโดรนถือเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าวิธีการแบบเดิมที่ใช้ในการสำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาพแวดล้อมที่อันตรายหรือยากต่อการเข้าถึง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงในการส่งนักสำรวจเข้าไปในยังพื้นที่อันตราย ปัจจุบันด้วยทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า โดรนสามารถใช้เพื่อรวบรวมข้อมูลจากระยะไกลได้ ไม่ว่าจะเป็นการสำรวจหน้าผาสูงชัน การตรวจสอบโครงสร้างที่สูง หรือการประเมินพื้นที่ประสบภัยพิบัติ โดรนจึงถือเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่านั่นเอง ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน แม้ว่าการลงทุนครั้งแรกในเทคโนโลยีโดรนมีราคาที่ค่อนข้างสูง แต่หากมองในแง่มุมของความคุ้มทุนในระยะยาวในการสำรวจด้วยโดรนนั้นถือเป็นสิ่งที่คุ้มค่า ด้วยวิธีการสำรวจแบบดั้งเดิมมักจะต้องใช้กำลังคนจำนวนมาก อุปกรณ์พิเศษ และการทำงานภาคสนามที่กว้างขวาง ในทางกลับกัน […]

RTK นวัตกรรมแม่นยำสูงสุดเพื่อโดรนสำรวจ

ในท้องตลาดทุกวันนี้ จะเห็นได้ว่ามีโดรนอุตสาหกรรมมากมายที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในการนำมารังวัดที่ดิน ทำแผนที่ ตรวจสอบอาคาร และกู้ภัย (Blog: โดรนสำรวจเหมาะกับอุตสาหกรรมใด) ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการทำงาน คือค่าความแม่นยำของพิกัดและความละเอียดของข้อมูลที่เก็บมาเพื่อประมวณผลของโดรน จะเห็นได้ว่า โดรนสำรวจของ DJI บางรุ่นจะมี คำว่า RTK มาต่อท้ายเสมอ (Blog:โดรนสำรวจ DJI Matrice 350 RTK และ DJI Mavic 3 Enterprise ต่างกันอย่างไร) แล้ว RTK มันคืออะไร? และเพราะอะไรถึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการบินโดรน? Aonic Thailand มีคำตอบ…. RTK คืออะไร? Real-Time Kinematics (RTK) หรือการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ เป็นเทคนิคที่ใช้ในด้านการนำทางด้วยดาวเทียมเพื่อปรับปรุงความแม่นยำของระบบการระบุตำแหน่ง ถูกผนวกใช้กับระบบดาวเทียมทั่วโลก (GNSS) เช่น GPS (Global Positioning System) ซึ่งการดำเนินการนั้นคือการทำงานร่วมกันของ สถานีฐาน (Base station) และ เครื่องรับสัญญาณ (Rover) […]

โดรนสำรวจ Matrice 350 RTK และ Mavic 3 Enterprise ต่างกันอย่างไร

ในปัจจุบัน โดรนสำรวจได้ปฏิวัติวงการทำรังวัดที่ดินและการทำแผนที่เชิงพาณิชย์รวมถึงภาคอุตสาหกรรม ด้วยความสามารถในการรวบรวมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพความแม่นยำ ระดับความคลาดเคลื่อนเพียงไม่กี่เซนติเมตร เนื่องด้วยตอนนี้ตัวเลือกโดรนในตลาดมีมากมาย และผนวกกับความเข้าใจผิดระหว่าง โดรนทั่วไป และโดรนเพื่อการสำรวจ (โดรนแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร) ว่าเป็นโดรนประเภทเดียวกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง โดรนสำรวจแต่ละรุ่น เพื่อเลือกใช้โดรนที่เหมาะสมต่อการทำงาน วันนี้ Aonic Thailand ขอนำเสนอโดรนเพื่อการสำรวจตัวท็อปทั้งสามรุ่นของ DJI ได้แก่ Matrice 350 RTK, Mavic 3 Enterprise และ Mavic 3 Enterprise Thermal มาดูกันว่าแต่ละรุ่นมีความเหมือนต่างกันอย่างไรบ้าง รูปร่างและความสะดวกในการพกพา Design & Portability Mavic 3 Enterprise & Mavic 3 Enterprise Thermal ทั้งสองรุ่นมีขนาดที่กะทัดรัดและถูกออกแบบมาเพื่อการพกพาที่สะดวก ซึ่งตัวโดรนมีน้ำหนักเพียง 915-960 กรัม มีขนาดลำตัวโดรนที่เล็กกว่า Matrice 350  RTK  ถึง 4 เท่า จึงอาจจะเหมาะกับผู้ที่ต้องการความคล่องตัวในการทำงานภาคสนามที่มากกว่า  Matric […]

ประเภทโดรนสำรวจ มีอะไรบ้าง ต่างกันอย่างไร

ปัจจุบัน โดรนสำรวจนั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นและได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายเพื่อเป็นอุปกรณ์สำคัญในการดำเนินงานที่มอบความสะดวกและความแม่นยำแก่ผู้ใช้งาน ด้วยนวัตกรรมการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ เหมาะกับมือสมัครเล่นและมืออาชีพที่ต้องการสร้างแผนที่ที่มีความแม่นยำ หรือแม้กระทั่งนักสำรวจที่ทำงานในโครงการขนาดใหญ่ ดังนั้นการทำความเข้าใจเกรดต่างๆของโดรนสำรวจเป็นสิ่งสำคัญ  ในบทความนี้ Aonic Thailand จะพาไปเจาะลึกถึงประเภท โดรนสำรวจ และฟังก์ชั่นการใช้งานที่แตกต่างของโดรนแต่ละประเภทที่ควรรู้ก่อนการเลือกซื้อ เพื่อเลือกโดรนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับความต้องการและการใช้งานของคุณ โดยเราสามารถแบ่งโดรนในปัจจุบันตามประเภทของกล้องและระดับความแม่นยำของโดรนได้คร่าวๆออกเป็น 3 ประเภท อ้างอิงจากมาตรฐานการสำรวจด้วยอากาศยานไร้คนขับเพื่องานวิศวกรรม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ประเภท โดรนสำรวจ 1. เกรดทั่วไป (Customer grade) โดรนประเภทนี้ จะได้รับการออกแบบมาสำหรับมือสมัครเล่น หรือผู้ที่เริ่มต้นสนใจใช้โดรนในการถ่ายภาพทางอากาศ การถ่ายวีดีโอแบบพื้นฐาน ซึ่งโดรนเหล่านี้มีราคาที่ไม่แพง สามารถเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งฟังก์ชันระบบการทำงานนั้นไม่ซับซ้อน นอกเหนือจากนี้การรังวัดพิกัดถ่ายภาพนั้นจะมีการเชื่อมต่อผ่านทาง DGPS ฟังก์ชัน และคุณภาพการทำงาน คุณภาพกล้อง โดยทั่วไปนั้นโดรนมักมาพร้อมฟังก์ชันกล้องติดตั้งมาในตัว ซึ่งสามารถถ่ายภาพและวีดีโอด้วยระบบชัดเตอร์แบบ rolling shutter หรือเป็นวิธีการถ่ายภาพแบบแสกนจากบนลงล่างในเวลาอันสั้นสำหรับการบันทึกเฟรม ดังนั้นอาจทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนเล็กน้อยในการบันทึกข้อมูล ซึ่งหากเปรียบเทียบกับกล้องที่ติดตั้งจากโดรนเกรดอื่นๆอาจไม่สามารถให้ความแม่นยำในระดับเดียวกัน ระยะเวลาการบิน โดรน customer grade นั้น ถูกออกแบบมาให้สอดคล้องกับการทำงานโปรเจคหรือการสำรวจพื้นที่ที่ไม่ใหญ่มาก ซึ่งระยะเวลาในการบินนั้นเฉลี่ยอยู่ที่ 20-30 นาทีต่อการบิน 1 ครั้ง และระยะการควบคุมจากรีโมทคอนโทรล (remote […]

โดรนสำรวจ เหมาะกับอุตสาหกรรมใด?

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การถือกำเนิดของ ‘โดรนสำรวจ และทำแผนที่’ ได้นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในด้านการรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ ยานพาหนะทางอากาศไร้คนขับ (UAV) ถูกพัฒนาและเพิ่มฟังค์ชันที่ทำให้สามารถติดตั้งเทคโนโลยีการถ่ายภาพขั้นสูงได้ นำมาสู่การปฏิวัติวิธีการทำแผนที่และการตรวจสภาพแวดล้อมด้วยการทำงานในรูปแบบใหม่ หรือที่เรียกกันว่า โดรนสำรวจ  บทความนี้ Aonic Thailand จะเจาะลึกถึงความสามารถของโดรนทำแผนที่ การใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ และประโยชน์ของการใช้โดรนเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่ โดรนสำรวจ และทำแผนที่คืออะไร โดรนทำแผนที่ หรือที่เรียกว่าโดรนสำรวจ ทางอากาศ เป็นยานพาหนะทางอากาศไร้คนขับ (UAV) ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการจับภาพและข้อมูลจากทางอากาศเพื่อสร้างแผนที่ แบบจำลอง และชุดข้อมูลเชิงพื้นที่ ซึ่งโดรนเหล่านี้จะมีการติดตั้งเซ็นเซอร์ต่างๆ เช่น กล้องความละเอียดสูง เซ็นเซอร์ LiDAR และตัวรับสัญญาณ GPS เพื่อรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถแสดงภาพรายละเอียดจากหลายมุมมอง (Blog: ทศวรรษใหม่ของ รังวัดที่ดิน ด้วยโดรน) โดรนทำแผนที่ได้รับการตั้งโปรแกรมสามารถตั้งค่าให้บินตามเส้นทางการบินที่กำหนดไว้ล่วงหน้าได้ หรือทำงานตามการควบคุม เพื่อเป็นการจับภาพและข้อมูลในช่วงเวลาหรือตำแหน่งเฉพาะ จากนั้นข้อมูลที่รวบรวมจะได้รับการประมวลผลโดยใช้ซอฟต์แวร์พิเศษเพื่อสร้างออโธโมซาอิก Orthomosaics (ภาพถ่ายทางอากาศที่อ้างอิงทางภูมิศาสตร์) แบบจำลองระดับความสูงดิจิทัล (DEM) คลาวด์พอยต์ 3 มิติ และชุดข้อมูลเชิงพื้นที่ วัตถุประสงค์หลักของการทำแผนที่ด้วยโดรน คือการรวบรวมข้อมูลเชิงพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในพื้นที่ขนาดใหญ่ที่อาจเข้าถึงได้ยากหรือใช้เวลานานในการสำรวจ  ด้วยวิธีการสำรวจ หรือทำแผนที่ทางภาคพื้นดินแบบดั้งเดิมนั้น […]

โดรนอุตสาหกรรม เทคโนโลยีปฎิวัติวงการ

โดรนอุตสาหกรรม กลายเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่ปฏิวัติภาคส่วนต่างๆทางอุตสาหกรรม ด้วยการมอบประสิทธิภาพในการดำเนินงานและผลผลิตที่เหนือชั้น ปัจจุบันเทคโนโลยี ‘ยานพาหนะทางอากาศไร้คนขับ’ (UAV) ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งมีการติดตั้งเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อประยุกต์และใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงการดำเนินงานได้อย่างล้ำสมัย เพิ่มความปลอดภัย และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ด้วยเหตุนี้โดรนจึงเป็นตัวสำคัญที่มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลก และในบทความนี้ Aonic Thailand จะพาสำรวจว่าโดรนมีการพัฒนาและปฏิวัติการดำเนินงานในอุตสาหกรรมใด และอย่างไรบ้าง โดรนอุตสาหกรรมคืออะไร? โดรนอุตสาหกรรม หรือที่มักเรียกกันว่า UAV เป็นยานพาหนะทางอากาศที่สามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมตามการใช้งาน ซึ่งเรียกว่าการติดตั้ง “เพย์โหลด” (paylads) UAV นั้นมักถูกใช้ในอุตสาหกรรมทางด้านพลังงาน การทำแผนที่และการสำรวจ การป้องกัน ความปลอดภัย หรืออื่นๆ โดยปกตินั้น UAV ที่ใช้งานในอุตสาหกรรมถูกสร้างให้มีมาตรฐานการทำงานที่สูงกว่าโดรนทั่วไป ด้วยความสามารถและเวลาในการบินที่มากกว่า มีระบบการบินและการควบคุมขั้นสูง รวมถึงความสามารถในการปรับใช้เพย์โหลด (payloads) ที่หลากหลาย เช่น เซ็นเซอร์เฉพาะทาง อุปกรณ์ภาพ และเพย์โหลกตามความต้องการสำหรับการวิจัยและ แอปพลิเคชันสำรวจ  ระบบเซ็นเซอร์หรือเพย์โหลดนั้นสามารถปรับเปลี่ยนตามรูปแบบการใช้งานที่หลากหลาย เพียงติดตั้งบน UAV เชิงอุตสาหกรรมเดิม ด้วยอุปกรณ์พิเศษนี้จึงทำให้โดรนเป็นทางเลือกหนึ่งที่เข้ามาแทนที่และลดข้อจำกัดในงานบางประเภทที่จำเป็นต้องตรวจสอบด้วยมือ หรือใช้ระยะเวลานานในการตรวจสอบแก่อุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มความปลอดภัยขณะดำเนินงานด้วยความแม่นยำในการรวบรวมข้อมูลที่มีประสิทธิภาพสูง 10 อุตสาหกรรมปฎิวัติด้วยโดรน 1. โดรนอุตสาหกรรม สำหรับการตรวจสอบ […]

สำรวจโบราณสถาน ด้วยโดรน

นวัตกรรมโดรนเป็นเทคโนยีที่ถูกคิดค้น และต่อยอดมาเพื่อเป็นเครื่องมือที่สามารถประยุกต์ใช้กับสายงานต่างๆได้อย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น การเกษตร การก่อสร้าง และการสำรวจที่ดิน ซึ่งหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เริ่มนำโดรนมาใช้และประสบความสำเร็จได้แก่การทำงานในสาขาโบราณคดีและตรวจสอบวัตถุสิ่งปลูกสร้าง ในบทความนี้ Aonic Thailand จะมาอธิบายในเรื่องของ การใช้โดรน ‘สำรวจโบราณสถาน’ และฟังค์ชันสำคัญที่ช่วยอำนวยความสะดวกในงานทำงาน แหล่งโบราณคดีคือสถานที่ที่รวบรวมเรื่องราวของวัตถุโบราณต่างๆของผู้คนในอดีต ซึ่งการค้นพบเหล่านี้สามารถช่วยให้มนุษย์ในปัจจุบันเข้าใจ เกิดการเรียนรู้ และสืบทอดบทเรียนต่างๆจากประวัติศาสตร์สู่คนรุ่นหลัง ดังนั้นการทำงานทาหรือค้นพบสถานที่หรือโบราณวัตถุที่มีความเปราะบางสูงงด้านโบราณคดีมักเกี่ยวข้องกับการขุดค้น  กระบวนการทำงานต่างๆจึงจำเป็นต้องมีความละเอียดสูง เทคโนโลยีเฉพาะทางจึงถูกนำมาปรับใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน สำรวจโบราณสถาน ด้วย 4 ฟังค์ชั่นจากโดรน การทำแผนที่เพื่อสำรวจโบราณสถาน (Aerial Identification) อาลิสัน ดิกเค่น (Allison Dickens) ผู้จัดการโบราณคดีเคมบริดจ์ (CUA) จากมหาลัยเคมบริดจ์ กล่าวว่า  “โดรนเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำการสำรวจ และช่วยชี้ทางไปยังแหล่งขุดค้นใหม่ๆ (ปี 2559)” ปัจจุบันมีผู้คนมากมายเลือกใช้โดรนในการสำรวจ เนื่องจากโดรนเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สามารถให้มุมมองภาพจากทางอากาศ ณ บริเวณเหนือพื้นที่สำรวจได้ ซึ่งเป็นการให้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และเป็นการแสดงภาพจากหลากมุมมอง โดยส่วนมากมักนิยมใช้โดรนในการสำรวจพื้นที่สำคัญ หรือบริเวณพื้นที่ที่มีซากปรักหักพังทับถม รวมไปถึงการใช้โดรนสำรวจโบราณสถาน ด้วยการถ่ายภาพจากระบบ LiDAR (Light detection and ranging) ซึ่งเป็นเซนเซอร์ที่สามารถช่วยตรวจจับและแสดงผลลัพท์ในรูปแบบของภาพ […]

thThai