สำรวจ เหมืองแร่ และคำนวนปริมาตรแร่ที่ขุดได้ด้วยโดรน

สืบเนื่องจาก หลักเกณฑ์และวิธีการรายงานการทำเหมือง  พ.ศ. 2562  โดยกรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน ซึ่งกำหนดให้เหมืองแร่ที่มีขนาดไม่เกิน 100 ไร่ ต้องจัดทำรายงานข้อมูลการรังวัดภูมิประเทศพื้นที่ประทานบัตรด้วย UAV ปีละ1 ครั้ง และเหมืองแร่เนื้อที่ไม่เกิน 625 ไร่ จัดส่งรายงานปีละ 2 ครั้ง ทำให้โดรนกลายเป็นเทคโนโลยีที่น่าจับตามองและเริ่มถูกนำมาใช้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้นในอุตสาหกรรม เหมืองแร่ ของประเทศไทย แต่รู้หรือไม่ว่านอกเหนือจากการทำรายงาน เทคโนโลยีโดรนยังสามารถเพิ่มศักยาภาพการทำงานในด้านต่างๆของเหมืองแร่ ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ หรืออีกนัยคือตั้งแต่วางระบบการขุดเจาะ จนถึงการคำนวนหาปริมาณแร่ที่ขุดได้  ในบทความนี้ Aonic Thailand ผู้ให้บริการโดรนอุตสาหกรรมครบวงจร ขอพาทุกท่านสำรวจการประยุกร์ใช้โดรนในด้านต่างๆเพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานของ เหมืองแร่ และการคำนวนหาปริมาตรของวัสดุ (Stockpile) ซึ่งส่งผลถึงการจัดการ Supply Chain ของเหมืองแร่  การประยุกต์ใช้โดรนใน เหมืองแร่ หลักๆแล้วเราสามารถนำโดรนมาประยุกต์ใช่ใน ไซท์งานได้ในทุกระยะของการปฏิบัติงาน โดยจะแบ่งอออกเป็น 1. ระยะการวางระบบและจัดการความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน 2. ระยะการดำเนินการงานขุดเจาะและก่อนสร้าง 3. ระยะการจัดการ Supply Chain ซึ่งการใช้โดรนได้เข้ามาช่วยให้การทำงานในแต่ละระยะนั้น สมูธมากขึ้นจากข้อมูลที่แม่นยำและการพลิกแพลงข้อมูลมาใช้ได้อย่างหลากหลายโดยใช้ผู้ดำเนินงานเพียงไม่กี่คน ระยะที่ 1 […]

thThai