ปัจจุบัน การทำเกษตรแบบดั้งเดิมด้วยการพึ่งพาปศุสัตว์นั้นถูกแทนที่ด้วย เทคโนโลยีทางการเกษตร ทั้ง รถแทรกเตอร์ รถเกี่ยวข้าว และเทคโนโลยีอย่าง GMOs เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันของพืชผล ให้ตอบโจทย์กับการทำการเกษตรแปลงใหญ่ด้วยพืชชนิดเดียว (Large-scale single crop unit) โดรนเกษตรจึงนับว่าเป็นเครื่องมือแห่งอนาคตเพื่อสร้างเสถียรภาพของความมั่นคงทางอาหาร ในบทความนี้ Aonic Thailand จะพาไปทำความเข้าใจว่าโดรนมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ความมั่นคงทางอาหาร อย่างไรและยังไงบ้าง
ความมั่นคงทางอาหาร หรือ “Food Security”
จะกลายเป็นตัวแปลสำคัญที่กำหนดอนาคตของโลกใบนี้ ด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งตรงข้ามกับความเสื่อมถอยของสภาพแวดล้อมที่รุนแรง และเพื่อตอบสนองประชากรโลกที่จะทะลุ 1 หมื่นล้านคน ภายในปี 2593 เทคโนโลยีโดรนจึงกลายมาเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรเป็นสองเท่าเพื่อป้องกันวิกฤตการขาดแคลนอาหาร
ความมั่นคงทางอาหาร คืออะไร?
จากการประชุมสุดยอดอาหารโลกปี 1996 (world food summit) ความมั่นคงทางอาหารหมายถึง “ความสามารถทั้งทางกายภาพและทางเศรษฐกิจในการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการ” ซึ่งตรงกับเทรนการบริโภคอาหารของผู้คนในปัจจุบันที่ต้องการที่จะมีสุขภาวะที่ดี โดยจากการประชุมสุดยอดอาหารโลกในปีดังกล่าว ความมั่นคงทางอาหาร ถูกแบ่งออกเป็น 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่
1. การมีอาหารที่เพียงพอ (Physical Availability of food): ความพร้อม“ด้านอุปทาน” (ผู้ผลิต) ต่อความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการเป็นตัวแปลต่อการผลิตอาหาร ระดับสต็อก และการควบคุมการค้า
2. การเข้าถึงอาหาร (Economic and physical access to food): ตัวเลขหรือข้อมูลที่ชี้ถึงการจัดการอาหารที่เพียงพอในระดับนานาชาติไม่สามารถชี้วัดความมั่นคงทางอาหารของภาคครัวเรือนได้ เพื่อจะบรรลุเป้าหมายความมั่นคงทางอาหาร จึงต้องได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลในการตรวจสอบความเป็นไปของตลาด
โดรนเกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยด้านอาหารอย่างไร
โดรนเกษตรกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพาะปลูก ที่ช่วยอำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผลผลิตแก่เกษตรกร ไม่ว่าจะเป็นการตรวจจับและวิเคราะห์ข้อมูลจากพื้นที่เพาะปลูกในแปลงขนาดใหญ่ด้วยเวลาอันสั้น ในขณะเดียวกันโดรนยังเป็นตัวช่วยในการประหยัดทรัพยากร อาทิ ปริมาณการใช้น้ำ ปุ๋ย หรือสารกำจัดศัตรูพืช ซึ่งการวิเคราะห์เหล่านี้เป็นการอิงข้อมูลจากกล้องเฉพาะทางที่สามารถตรวจจับภาพที่แสดงถึงความหนาแน่น โรค หรือแม้กระทั่งแมลงศัตรูพืชในพื้นที่ที่กำหนด
ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย Save Time & Money
ด้วยการเก็บข้อมูลจากโดรนในพื้นที่การเกษตรสามารถช่วยให้เกษตรกรตัดสินใจเลือกวิธีการจัดการในแต่ละพื้นที่ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น เช่น ตารางและปริมาณสำหรับการใส่ปุ๋ย หรือควบคุมศัตรูพืช เพื่อลดปัญหาการใช้วัตถุดิบที่เกินกว่าความจำเป็น ซึ่งการใช้โดรนนั้นยังช่วยให้การพ่นเสร็จได้เร็วขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีดั้งเดิม อีกทั้งยังเป็นการลดต้นทุนค่าแรงงานด้วยเช่นกัน
การทำการเกษตรแม่นยำ Precision Farming
เนื่องด้วยโดรนมีการเชื่อมข้อมูลกับระบบ GPS, GNSS จึงตอบโจทย์แก่เกษตรกรในแง่ของการวิเคราะห์พื้นที่ว่าเหมาะสมกับการเพาะปลูกชนิดใด โดยอ้างอิงจากคุณภาพดิน และธรณีวิทยา เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เกิดผลผลิตได้อย่างเต็มที่
นอกเหนือไปจากนี้ การใช้เทคโนโลยียังสามารถช่วยเตือนเกษตรกรถึงภัยพิบัติที่อาจเกิดขึ้น เพื่อหาวิธีการป้องกันได้อย่างรัดกุมและทันท่วงที ด้วยเหตุผลข้างต้นการใช้ประโยชน์จากโดรนจึงช่วยให้เกษตรกรสามารถดึงศักยภาพจากพื้นที่เพาะปลูกมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
การกำหนดปริมาณปุ๋ยที่เหมาะสม Determine the Exact Quantity of Fertilizers
ในโดรนบางประเภทนั้นมีการติดตั้งระบบที่สามารถช่วยระบุปริมาณปุ๋ยที่ต้องใช้ในแต่ละพื้นที่ ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยประหยัดการใช้งาน แต่ยังรักษาสมดุลของระบบนิเวศด้วยการปล่อยก๊าซที่ทำลายโอโซนน้อยลง เนื่องด้วยการใช้จำนวรปุ๋ยที่เหมาะสม
ด้วยเหตุนี้...
โดรนจึงจัดเป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยในการรักษา ความมั่นคงทางอาหาร เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีร่วมกับการเกษตร จะช่วยให้ขั้นตอนการเพาะปลูกดำเนินการได้อย่างราบรื่น ด้วยวิธีการจัดการที่รวดเร็วและตรงจุด จึงทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ในอัตราการใช้ทรัพยากรหรือค่าใช้จ่ายที่ต่ำลง
โดรนที่เกี่ยวข้อง
Mist Drone
โดรนฉีดพ่นทางการเกษตร